กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง


“ โครงการมัสยิดต้นแบบ เดินหน้าสร้างสุขภาวะคนในชุมชน ”

ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นายอับดุลรอแม จาลงค์

ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดต้นแบบ เดินหน้าสร้างสุขภาวะคนในชุมชน

ที่อยู่ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 62-L3032-02-20 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 26 เมษายน 2562 ถึง 10 พฤษภาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการมัสยิดต้นแบบ เดินหน้าสร้างสุขภาวะคนในชุมชน จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการมัสยิดต้นแบบ เดินหน้าสร้างสุขภาวะคนในชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการมัสยิดต้นแบบ เดินหน้าสร้างสุขภาวะคนในชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 62-L3032-02-20 ระยะเวลาการดำเนินงาน 26 เมษายน 2562 - 10 พฤษภาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 19,550.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หนึ่งในศูนย์รวมจิตใจของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามคือ "มัสยิด" หรือ "สุเหร่า" โดยชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การละหมาด (การนมาซ) และการวิงวอนขอพร การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หรือหาความสันโดษ ซึ่งพิธีปฏิบัติดังกล่าวสอดคล้องกับความหมายของคำว่ามัสยิดที่มีรากคำมาจากภาษาอาหรับ ที่แปลใจความได้ว่า "สถานที่กราบ" สำหรับประเทศไทยตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พบว่า มัสยิดอยู่ราว3,722 แห่งตั้งอยู่ทั่วประเทศใน68จังหวัด โดยอยู่ใน14 จังหวัดภาคใต้ มากที่สุดคือ 3,158 แห่ง
นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าบทบาทของมัสยิดในปัจจุบัน มีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการที่สามารถทำให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนได้ เช่น ปัจจัยทางด้านกฎหมายที่กำหนดให้มัสยิดเป็นนิติบุคคล ปัจจัยทางด้านบุคลากรในชุมชนและคณะกรรมการมัสยิดที่มีวุฒิการศึกษาสูงขึ้น ปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อีกทั้ง มัสยิดเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอ่านและศาสนา เป็นสถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิม ฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่พิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก เป็นพื้นที่รวมจิตใจของคนในชุมชน ความเป็นชุมชนเกิดขึ้นเมื่อคนในชุมชนมารวมตัวกันมีปฏิสัมพันธ์กัน มีวิถีดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกัน มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัวไปสู่ระดับเครือญาติ จนกระทั่งระดับหมู่บ้าน ระดับตำบลหรือระดับที่ใหญ่ขึ้น (พงค์เทพ สุธีรวุฒิและคณะ, 2559)
พฤติกรรมสุขภาพชุมชน หมายถึง พฤติกรรมใดๆ ของคนในชุมชน หรือพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลที่อยู่ในชุมชน พติกรรมที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นส่วนรวมหรือวิถีปฏิบัติต่อสาธารณะ เมื่อปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดผลดีหรือเสียต่อสุขภาพ รวมทั้งนำไปสู่โรคภัยและอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้มีผลมาจากความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ การรับรู้และการปฏิบัติทางสุขภาพที่เหมาะวม เช่น การทิ้งขยะ การเคารพกฏจราจร การขับขี่ยานยนต์ การข้ามทางม้าลาย หรือทางข้าม เป็นต้น ทั้งนี้ พฤติกรรมสุขภาพมีหลายรูปแบบ การพัฒนาชุมชนที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลหรือผู้แทนของกลุ่ม องค์กรต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการกำหนดทิศทางในการพัฒนา ร่วมตัดสินใจในอนาคตของชุมชน ร่วมดำเนินกิจกรรมพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น เทคนิคกระบวนการมีส่วนร่วมจะช่วยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ ร่วมสร้างความเข้าใจการดำเนินงาน มีการยอมรับ มีความรัดชอบในฐานะสมาชิกของชุมชน เกิดความเป็นเจ้าของและเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานที่ตนมีส่วนร่วม กระบวนการพัฒนาชุมชนจึงเกิดความต่อเนื่องและก่อให้เกิดความสำเร็จสูง กระบวนการมีส่วนร่วมนั้นอาจจะกระทำได้ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและลักษณะที่ไม่เป็นทางการ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, 2557) ซึ่งมัสยิด สถาบันศึกษาปอเนาะ และวัด เป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของชุมนไทยพุทธและไทยมุสลิมและตั้งเป้าหมายดำเนินการให้เป็นต้นแบบของศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ การดำเนินการจะพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่มากที่สุด จากผลการดำเนินงานพัฒนาศาสนสถาน ที่ผ่านมาพบว่า วัดผ่านเกรฑ์การประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 95.9 มัสยิดผ่านเกณฑ์ประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 85.2 สถาบันการศึกษาปอเนาะยังผ่านเกณฑ์การประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 74.6 ทั้งนี้ตัวชี้วัดภาพรวมต้องผ่านร้อยละ 80 ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดของสถาบันศึกษาปอเนาะยังไม่ผ่านเกณฑ์และพบว่า ศาสนสถานส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาด้านสภาพโครงสร้างด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพ (นงลักษณ์ , 2557) จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศาสนสถาน เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการชุมชนที่นอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพทั้ง 4 มิติ ประกอบด้วย มิติทางกาย มิติทางสติปัญญา มิติด้านสังคม และมิติด้านจิตวิญญาณ ซึ่งมิติเหล่านี้เชื่อมโยงกันอย่างมีพลวัตร จากเหตุผลดังกล่าวคณะกรรมการมัสยิดบันนังยะลาปัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมศาสนสถานต้นแบบด้านการจัดการสุขภาวะ จึงได้จัดโครงการมัสยิดต้นแบบ เดินหน้าสร้างสุขภาวะคนในชุมชน เพื่อให้ผู้นำศาสนามีความรู้ความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมที่ดีต่อชุมชน เพื่อพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ยาสูบต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้นำศาสนามีความรู้ความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมที่ดีต่อชุมชน
  2. เพื่อพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
  3. เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ยาสูบ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์
  2. กิจกรรมย่อยอบรมให้ความรู้อันตรายของบุหรี่ยาสูบ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสภาพแวดล้อมในศาสนสถาน
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การดูแลสภาพแวดล้อมที่ดีในศาสนสถาน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้นำศาสนามีความรู้ความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมที่ดีต่อชุมชน
ตัวชี้วัด :
0.00 85.00

ผู้นำศาสนามีความรู้ความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมที่ดีต่อชุมชน อาศัยวิถีชีวิตในแต่ละวันในการปฏิบัติศาสนกิจ

2 เพื่อพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ตัวชี้วัด :
0.00 90.00

การพัฒนาของคน องค์กรต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายซึ่งประกอบด้วย ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชน

3 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ยาสูบ
ตัวชี้วัด :
0.00 75.00

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับบุหรี่ยาสูบ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 69
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 20
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 39
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้นำศาสนามีความรู้ความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมที่ดีต่อชุมชน (2) เพื่อพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (3) เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ยาสูบ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (2) กิจกรรมย่อยอบรมให้ความรู้อันตรายของบุหรี่ยาสูบ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการมัสยิดต้นแบบ เดินหน้าสร้างสุขภาวะคนในชุมชน จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 62-L3032-02-20

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอับดุลรอแม จาลงค์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด