กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ TO BE NUMBER ONE ตำบลบ่อน้ำร้อน
รหัสโครงการ 62-L1467-03-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบ่อร้อน
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2562 - 3 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2562
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบ่อร้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ภูริศึกษาวิชชาลัย บ้านห้วยน้ำดำ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 เม.ย. 2562 31 พ.ค. 2562 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“ยาเสพติด" ปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สภาพปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ "เฮโรอีน" เป็นปัญหาสำคัญที่ตำรวจต้องเร่งปราบปรามให้สิ้นซาก กลายเป็น "ยาบ้า หรือสารเมทแอมเฟตามีน ที่กำลังระบาดตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม และประเทศ จากข้อมูลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนจำนวนกว่า 6 แสนคนหลงเข้าสู่วังวนของ ยาบ้า และจากสถิตินักโทษเด็ดขาด ของกรมราชทัณฑ์ที่ถูกจำคุกอยู่ตาม ทัณฑสถานทั่วประเทศ สำรวจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 137,344 คน ในจำนวนนี้เป็นนักโทษคดียาเสพติดเกินกว่าครึ่ง คือประมาณ 87,966 คน คิดเป็นร้อยละ 64.05 และในจำนวนนักโทษเด็ดขาด คดียาเสพติดเหล่านี้มีจำนวนมากถึง 27,499 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.26 ของนักโทษคดียาเสพติดที่ต้องโทษในคดีเสพหรือครอบครองและทั้งเสพและครอบครอง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 6 - 25 ปี จำนวน 21 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่ม เสี่ยงสูง จึงทรงรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เพื่อให้การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพโดยความร่วมมือ และรวมพลังจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของปวงชนในชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่า“การที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่ทุกคนในชาติจะร่วมแรงร่วมใจกันเป็นพลังของแผ่นดินที่จะต่อสู้และเอาชนะปัญหา ยาเสพติดให้ได้โดยเร็ว”ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ จากประชากร จำนวน 60,451,102 คน พบว่าเสพสารเสพติรายใหม่ จำนวน 47,795 คน ผู้ค้าที่จับคุมได้ 4,234 คน จำนวนหมู่บ้านที่มีผลกระทบจากปัญหายาเสพติดระดับน้อย จำนวน15,568 หมู่บ้าน ระดับปานกลาง 4,759 หมู่บ้าน และระดับมาก 4,076 หมู่บ้าน และปัจจุบันสถานการณ์นำเข้าพืชกระท่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีทั้งการนำเข้าผ่านทางด่านศุลกากร และตามช่องทางธรรมชาติในพื้นที่ชายแดนที่มีอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซียทั้งทางบก ทางน้ำ ทางทะเล ส่วนใหญ่เป็นการนำมาจำหน่ายในพื้นที่เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมของสี่คูณร้อยซึ่งมีการแพร่ระบาดมากในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งปัจจุบันได้มีการกระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วทั้งภาคใต้และมีการแพร่ระบาดมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกพื้นที่ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักยังคงเป็นกลุ่มเด็ก เยาวชนและมีการกระจายไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ มากขึ้น เช่น กลุ่มนักเรียน นักศึกษา กลุ่มผู้ทำงานรับจ้าง หรือกลุ่มว่างงาน ส่งผลให้การค้าและการแพร่ระบาดพืชกระท่อมในพื้นที่มีการแพร่ระบาดเพิ่มสูงขึ้นด้วย. และยาบ้าเป็นยาเสพติดที่มีการค้าและการแพร่ระบาดมากเป็นอับดับ 1และ 2 และยังคงเป็นยาเสพติดประเภทที่มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากที่สุด สำหรับสถานการณ์ยาเสพติดของจังหวัดตรังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ดังนั้นเด็กและเยาวชนของตำบลบ่อน้ำร้อน จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE ตามพระดำริทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ขึ้น เพื่อดำเนินงานภายใต้ ๓ ยุทธศาสาตร์หลัก ได้แก่ การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจแก่เยาวชน การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อน 2.ชี้แจงรายละเอียดให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 3.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE ของตำบลบ่อร้อน 4.จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชมรม 5.ขึ้นทะเบียนชมรมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง 6.จัดค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำชมรม TO BE NUMBER ONE ของตำบลบ่อน้ำร้อน 7.มอบเข็มและเกียรติบัตรแก่แกนนำชมรม TO BE NUMBER ONE 8.สรุปผลการดำเนินงาน 9.รายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กและเยาวชนตำบลบ่อน้ำร้อน ได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ตามความชอบและถนัด ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม ปัญหาต่างๆของเยาวชนลดลง สุขภาพและคุณภาพชีวิตของเยาวชนดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2562 16:17 น.