กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังสังคม ร่วมอาสาดูแลผู้ป่วยตำบลปูยุด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลปูยุด
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มีนาคม 2562 - 30 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤษภาคม 2562
งบประมาณ 33,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวบีเดาะ เจะอุบง
พี่เลี้ยงโครงการ นางซากีนะห์ กาเซ็งอีแต
พื้นที่ดำเนินการ ประชาชนในพื้นที่ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การเยี่ยมบ้านที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์เคลื่อนไหวไม่ค่อยสะดวกอยู่บ้านคนเดียว และซึมลงเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่ที่เยี่ยมบ้านถามว่า เขายากทำอะไร ผู้ป่วยบอกว่าอยากไปมัสยิดอยากพบปะผู้คน พอได้ยินแล้ว บางที่บุคลากรในระบบจะนึกไม่ออกว่าจะช่วยเขาอย่างไร บางทีงานอาสาสมัครก็สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ เพราะชาวบ้านเค้ามัจิตใจอาสาอยากช่วยเหลือคนอื่นอยู่แล้ว แต่บางครั้งชาวบ้านเขาไม่รู้ว่าทำได้หรือเปล่า ควรทำแค่ไหนอย่างไร บางที่ต้องให้กำลังใจ ต้องการคนเชื่อม อาจต้องมีบุคลากรในโรงพยาบาลเป็นตัวกลาง โดยปรับบทบาทจากการเป็นคนไปดูแล บำบัด เยียวยา ไปเป็นคนเอื้ออำนวยให้เกิดพื้นที่ในการเกื้อกูลกัน ทำให้สองฝ่ายสื่อสารกัน แทนที่จะไปเยี่ยมบ้านเพื่อตรวจรักษาหรือจ่ายยาเพียงอย่างอย่างเดียว อาจต้องทำให้เกิดพื้นที่แบ่งปัน หรือสื่อสารว่าในชุมชนของเรามีใครที่เจ็บป่วยและเขาขาดเหลืออะไร แม้ว่าการพัฒนาอาสาสมัครและระบบการจัดการจะมีความจำเป็น แต่ทิศทางการทำงานจิตอาสาในอนาคต คือการปรับทัศนคติให้อาสาสมัครมีพื้นที่ในการเข้าไปทำงานอย่างเท่าเที่ยมกัน ได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมสุขภาพที่สำคัญไม่ได้น้อยไปกว่าบุคลากรอื่นๆ สามารถแลกเปลี่ยนแนวคิดร่วมกันได้เพราะเราเชื่อว่า ยิ่งเปิดพื้นที่ให้มากเท่าไร ยิ่งจะทำให้รูปแบบของงานจิตอาสาแตกยอด หลากหลาย และยืดหยุ่น ได้มากขึ้นเท่านั้น ดังตัวอย่างที่ยกมาข้างตัน และเมื่อสื่อสารตัวอย่างรูปธรรมของการทำงานในลักษณะดังกล่าวออกไปในวงกว้าง จนเกิดความกล้าในการเปิดพื้นที่ให้มากยิ่งๆ ขึ้นแล้ว เราเชื่อว่าจะทำให้การทำงานอาสาสมัครเกิดการขยายตัวทั้งในทางปริมาณและคุณภาพอย่างคาดไม่ถึงเลยที่เดียว การทำงานจิตอาสาเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หากมองไปในระดับสากลแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายทั้งระบบ โดยอาสาสมัครได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนใหญ่หนึ่งของทีมดูแลเท่าๆ กับบุคลากรทางการแพทย์ หากในสังคมไทย แม้งานจิตอาสาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น แต่ภายใต้บรรยาการปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสร้างระบบการแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่ค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าสู่ระบบสุขภาพในปัจจุบันย่อมทำให้งานอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีโอกาสได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เติบใหญ่แข็งแรงและเป็นส่วนสำคัญในระบบสุขภาพในเวลาอันไม่ไกลจากนี้ไปจากความสำคัญดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการสร้างมีส่วนร่วมด้านการดูฉลกกลุ่มเปราะบาง กลุ่มติดเตียง และผู้ป่วยระยะสุดท้ายระหว่างผู้ดูแลผู้ป่วย กับอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าที่เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตจึงได้จัดโครงการรวมพลังสังคม ร่วมอาสาดูแลผู้ป่วยตำบลปูยุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างทักษะ และองค์ความรู้ในการดูแลตนเองของครอบครัวครอบคลุม กาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ

ประชาชนได้รับองค์ความรู้ในการดูแลตนเองของครอบครัวครอบคลุม กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ

0.00
2 เพื่อสร้างขวัญกำลังให้กลุ่มผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วย

กลุ่มผู้ป่วย และผู้ดูแลใกล้ชิดมีขวัญกำลังใจ ไม่รู้สึกโดเดี่ยว แลัสุขภาพจิตดีขึ้น

0.00
3 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และการค้นหาปัญหา ตลอดจนสามารถดูแลบรอการผู้ป่วยได้ทันท่วงที

กลุ่มผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และทันท่วงที

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเสริมสร้างทักษะ และองค์ความรู้ในการดูแลตนเองของครอบครัวครอบคลุม กาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสร้างขวัญกำลังให้กลุ่มผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และการค้นหาปัญหา ตลอดจนสามารถดูแลบรอการผู้ป่วยได้ทันท่วงที

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ

2.ประสานงาน แกนนำชุมชน กลุ่มเสี่ยง และผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำแผน

3.จัดกิจกรรม โดยมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการดังนี้

  3.1 ประชุมชี้แจงพี่เลี้ยงอาสาสมัครสาธารณสุข

  3.2 จัดอบรมแกนนำอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยกลุ่ม อาสาดูแลผู้ป่วย(CG)

  3.3 จัดอบรมกลุ่มผู้ดูแล ญาติผู้ป่วย

  3.4 ประชุมสรุปผล และจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับองค์ความรู้ในการดูแลตนเองของครอบครัวครอบคลุม กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
  2. กลุ่มผู้ป่วย และผู้ดูแลใกล้ชิดมีขวัญกำลังใจ ไม่รู้สึกโดเดี่ยว แลัสุขภาพจิตดีขึ้น
  3. กลุ่มผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2562 10:07 น.