กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ RE Xray ผู้ป่วยโรคเรื้อน ปีที่4 เฉลิมพระเกียรติฯสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พ.ศ.2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 พฤษภาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 24,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮานาน มะยีแต
พี่เลี้ยงโครงการ นางฮานาน มะยีแต
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อนเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้โดยทางเดินหายใจแต่ติดต่อได้ยาก ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโรคเรื้อน คือ ผู้ที่สัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักษา แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องภายใน 7 วัน จะไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีก อาการเริ่มแรกของโรคนี้จะเป็นรอยโรคทางผิวหนังปกติ อาจพบขนร่วง เหงื่อไม่ออก ที่สำคัญคือ ในรอยโรคผิวหนังเหล่านี้จะมีอาการชา หยิกไม่เจ็บไม่คัน โรคเรื้อนชนิดที่เป็นมาก จะมีผื่นนูนแดงหนา หรือมีตุ่มแดงไม่คัน โดยเฉพาะที่ใบหููจะนูนหนา อาจมีขนคิ้วร่วงไม่ว่าผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น หรือระยะที่เป็นมากแล้วก็ตาม ผุ้ป่วยเหล่านี้จะไม่มีอาการคัน หรือเจ็บปวดเลย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยชะล่าใจ คิดว่าไม่ใช้โรคร้ายแรงจึงไม่รับการรักษา ส่งผลให้เกิดความพิการตามมา ดังนั้นมาตรการที่ควรให้ความสำคัญคือการค้นหาผู้ป่วยเป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญที่สุดในงานควบคุมโรคเรื้อน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผุ้ป่วยได้รับการค้นพบตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรค เพื่อให้การรักษาโดยเร็ว ก่อนที่จะมีอาการกำเริบรุนแรงจนเข้าสู่ระยะติดต่อ และเกิดความพิการ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียติฯตำบลปูยุด ได้น้อมนำพระราชปณิธานแห่งองค์พะบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป้นประทีปนำทางทางที่จะให้โรคเรื้อนหมดไปจากประเทศไทย เพื่อ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของทุกพระองค์ที่ทรงมีเมตตาต่อผู้ป่วยโรงเรื้อนและงานควบคุมโรคเรื้อนมาโดยตลอด โดยกระตุ้นให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)หน่วยงานสาธารณสุขอื่นๆ รวมถึงประชาชนทุกภาคส่วน เฝ้าสังเกตสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนของตน เพื่อให้เข้ารับการรักษาและฟื้นฟุสภาพจนผุ้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ในการนี้ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด จึงได้จัดทำ โครงการค้นหา เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคเรื้อน ปีที่ 3 เฉลิมพระเกียรติฯสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พ.ศ.2561 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้สร้างกระแส กระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการสังเกตและตรวจสุขภาพตนเองเพื่อเข้ารับการตรวจรักษา ได้อย่างทันท่วงที และเพื่อเป็นการคัดกรองประชาชนให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันและได้รับการตรวจรักาา อย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรค

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยด้วยโรคผิวหนังเรื้อรังที่รักษาไม่หายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อน

ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น สามารถลดอัตราการเกิดโรค และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคผิวหนัง

0.00
3 เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคเรื้อน และลดความพิการในกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเรื้อนในชุมชน

ประชาชนรับรู้ถึงสถานการณ์การเกิดโรค มีความตระหนักและเกิดการตื่นตัว ช่วยกันตรวจคัดกรองในครอบครัว

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดเทำดครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานงาน แกนนำชุมชน กลุ่มเสี่ยง และผุ้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำแผน
  3. จัดกิจกรรม โดยมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการดังนี้   - ประสานงานผู้นำชุมชน/ อบต/อสม. /และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานในครั้งนี้
      - สำรวจและค้นหาผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง แล้วรักษาไม่หาย โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าที่
      - ออกตรวจคัดกรองเชิงรุกร่วมกับร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอและผู้ชำนาญการด้านการตรวจคัดกรอง และตรวจรักษาดรคผิวหนัง
      - จัดวางระบบ และวางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อความต่อเนื่องในการเฝ้าระวังและควบคุมโรค
      - ประชุมสรุปผล และจัดทำรายงานการดำเนินงานประชุม
  4. ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรค
  • ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น สามารถลดอัตราการเกิดโรค และเกิดภ-าวะแทรกซ้อนของโรคผิวหนัง
  • ประชาชนรับรู้ถึงสถานการณ์การเกิดโรค มีความตระหนักและเกิดการตื่นตัว ช่วยกันตรวจคัดกรองในครอบครัว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2562 10:44 น.