กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว(อสค)ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน(4/2562)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปากพะยูน
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2562 - 22 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2563
งบประมาณ 32,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิชาภา เพชรพัฒนาไกร
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิลือ เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 มิ.ย. 2562 26 มิ.ย. 2562 32,500.00
รวมงบประมาณ 32,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ 3.7 เท่าของผูู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่การเกิดภาวะตาบอดไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้นอวัยวะ เป็นต้นปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมัน และหวานสาเหตุ คือ ความเคยชิน ต้องประกอบอาชีพนอกบ้านไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จากการดำเนินงานสาธารณสุขในปีงบประมาณ 2561 พบว่า ปัญหาสุขภาพที่เป็นปัญหาหลักของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูนได้แก่ในเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน มีผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 930 รายโรคเบาหวานจำนวน 372 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 38170.62 ต่อแสนประชากร กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 471 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.97 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 263 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.23 และ นอกจากนี้ ประชาชนยังมี พฤติกรรมบริโภคที่ถูกต้องเพียงร้อยละ 46.52 พฤติกรรมการออกกำลังกายที่ถูกต้องร้อยละ 35.9 พฤติกรรมทางอารมณ์ที่ถูกต้องร้อยละ 46.7 ร้อยละ 4.4 ยังมีความเครียด และนอกจากนี้ประชาชนยังมี พฤติกรรมการใช้ยาถูกต้องร้อยละ 32.26 ยังมีการใช้ยาชุด และการใช้ยาสมุนไพรที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื่องต้นเมื่อเจ็บป่วย และจากการสุ่มตรวจสารเคมีในเลือดประชาชนจำนวน 92 คน พบว่า ปลอดภัย จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.86 มีความเสี่ยงจำนวน 60 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.21 ไม่ปลอดภัยจำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.82 สุขภาพดีเป็นสิทธิขันพื้นฐานของประชาชนทุกคน และการดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะต้องทำ เพราะเรื่องสุขภาพไม่มีใครดูแลตัวเราได้เท่ากับเราดูแลตัวเอง ในการก้สวข้ามกับดักจากประเทศปานกลางสู่ประเทศโลกที่หนึ่งที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในยุคประเทศไทย 4.0 จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศชาติจะต้องมีจำนวนที่มีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยลดลงประชาชนไทยจะต้องเป็นผู้ที่สง่างาม (Smart citizen) มีความรู้ ความเข้าใจ เข้าถึงข้อมูล และตัดสินใจดี ถูกต้องในการประพฤติปฏิบัติตน (Health Literacy) ด้วยการเข้ามาทำหน้าที่ดูแลสุขภาพ ของตนเองและสมาชิกในครอบครัวตนเองด้วยความรัก ซึ่งคนในแต่ละครอบครัว ดีที่สุด ที่จะทำหน้าที่ในการดุแลสุขภาพครอบครัวของตนเอง หากประชาชนในแต่ละครอบครัวลุกขึ้นมาทำหน้าที่ จำทำให้ครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพและถ่ายทอดความรู้สม่ำเสมอประชาชนแต่ละครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ และมีสุขภาพดีด้วยการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน มีศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ โรงพยาบาลปากพะยูนมีความตั้งใจและความพยายามในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัวทั้งลูก หลาน ญาติทุกเพศทุกวัย ให้สามารถดูแลสุขภาพ คนในครอบครัวได้ด้วยตนเอง และมุ่งเน้นให้ทุกครอบครัวมีอย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่เป็นแกนนำปฏิบัติตนด้านสุขภาพที่มีพฤติกรรมเป็นแบบอย่างให้ครอบครัวและเป็นผู้ดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวตนเอง ให้การช่วยเหลือ คนในครอบครัวและผู้อื่นด้วยจิตเมตตา มีคุณธรรม จริยธรรม โดยไม่หวังสิ้งตอบแทนใดๆ ไม่เรียกร้อง สิ่งตอบแทนใดนอกเหนือจากทำเพื่อให้เพื่อนมนุษย์ได้มีความสุขในนามเรียกขานว่า อาสาสมัครประจำครอบครัว หรือ อสค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพให้กับครอบครัวที่เหมาะสมกับโรค วัน ความเสี่ยง และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในครอบครัวได้

1.ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพให้กับครอบครัวที่เหมาะสม กับโรค วัย ความเสี่ยง ภัยสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในครอบครัวได้

1.00
2 2.เพื่อสร้างความเข็มแข็งของกำลังคนด้านสุขภาพเครืิข่ายภาคแระฃาฃน

-ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมมีพฤติกรรมสุขภาพถูกต้อง

1.00
3 3.สามารถวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยง ภัยสุขภาพของตนเอง และสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งนำสมาชิก ไปรับบริการสุขภาพ เมื่อพบปัญหาเกินกว่าที่ครอบครัวและ อสม. จะดุแลได้

-ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยง ภัยสุขภาพของตนเอง และสามชิกในครอบครัว รวมทั้งนำสมาชิก ไปรับบริการสุขภาพ เมื่อพบปัญหาเกินกว่าที่ครอบครัว และ อสม จะดูแลได้

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 32,250.00 0 0.00
25 - 26 มิ.ย. 62 1.จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 รุ่น 120 32,250.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/ อสม. เพื่อคัดเลือกอาสาสมัครประจำครอบครัว 2.ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดอบรม 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ/แผนการอบรม ขั้นดำเนินการ 1.ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายมาอบรม 2.ขอสนับสนุนวิทยากรจากเครือข่าย 3.จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 รุ่น โดยรุ่นที่ 1 จำนวน 65 คน และรุ่นที่ 2 จำนวน 55 คน 4.บันทึกข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัวในฐานะข้อมูล 5.ติดตามเยี่ยมบ้านอาสาสมัครประจำครอบครัว ประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว 6.สรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพให้กับครอบครัวที่เหมาะสมกับโรค วัย ความเสี่ยง ภัยสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในครอบครัวได้ 2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และวางแผนแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนได้ 3.ผู้เข้ารับการอบรม สามารถวิเคราะฆ์และจัดการความเสี่ยง ภัยสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งนำสมาชิก ไปรับยริการสุขภาพเมื่อพบปัญหาเกินกว่าที่ครอบครัว และ อสม. จะดูแลได้ 4.ลดภาวะการทำงานของเจ้าหน้าที่ และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ กลุ่มเป้าหมาย 1.อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค) ม.1 (นอกเขต) จำนวน 10 คน 2.อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค) ม.2 บ้านท่าเตียน จำนวน 15 คน 3.อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค) ม.3 บ้านบางเตง จำนวน 25 คน 4.อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค) ม.4 บ้านโพธิ์ จำนวน 25 คน 5.อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค) ม.5 บ้านพรุหมอ จำนวน 20 คน 6.อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค) ม.6 บ้านไร่ จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2562 12:59 น.