กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 62-L7163-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัลมูบารัค
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 ธันวาคม 2561 -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัลมูบารัค
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์ สีสุข , นางสาวมาเรียม ชัยสันทนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 เม.ย. 2562 30 เม.ย. 2562 26,970.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 26,970.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การอบรมบ่มเพาะเด็กปฐมวัยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการสร้างรากฐานของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในก้าวย่างแรกของการเรียนรู้ โลกในศตวรรษที่ 21 ต้องการทักษะสำคัญเพื่อการก้าวสู่วิถีสุขภาวะ รวมไปถึงทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม ทักษะการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ ทักษะด้านสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยี เด็กในศตวรรษที่ 21 จึงควรมีทักษะที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ ริเริ่มเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ ตลอดจนมีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบ ช่วงอายุ 2 ปีแรกเกิดจึงเป็นโอกาสทองของเด็กทุกคนที่ควรจะได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสเพื่อพัฒนาสมองให้สร้างเส้นใยประสาทให้ได้มากที่สุด และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน ในทางตรงข้าม ถ้าสมองไม่ได้รับการกระตุ้นในช่วงนี้ก็จะเกิดช่องว่างของใยประสาท สมองพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ศักยภาพการเรียนรู้ลดลงนั่นคือเราเปลี่ยนโครงสร้างของสมองได้ด้วยการเรียนรู้ผ่านการกระตุ้นการสร้างวงจรในเซลล์สมองเป็นการโยงใยภายในเซลล์ต่างๆของสมอง โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตเด็ก ถ้าสมองถูกกระตุ้นมาก (เกิดการเรียนรู้) สมองก็จะจัดระเบียบใยประสาทเพิ่มการเชื่อมต่อใหม่ๆขึ้นเป็นจำนวนมากนั่นคือ เราเปลี่ยนโครงสร้างของสมองได้ด้วยการเรียนรู้ผ่านการกระตุ้นการสร้างวงจรในเซลล์สมอง เป็นการโยงใยภายในเซลล์ต่างๆของสมอง โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตเด็ก ถ้าสมองถูกกระตุ้นมาก(เกิดการเรียนรู้) สมองก็จะจัดระเบียบใยประสาทเพิ่มการเชื่อมต่อใหม่ๆขึ้นเป็นจำนวนมาก ในการพัฒนาของเด็กเล็กในช่วงเริ่มต้นวัย 2-7 ปี ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาในด้านต่างๆทั้งทิศทางด้านทัศนคติ การพัฒนาการทางอารมณ์ และการพัฒนาด้านทักษะการรับรู้ทางด้านสมองระบบประสาทต่างๆ ซึ่งจัดกระบวนการการเรียนรู้ในวัยนี้จึงถือว่ามีความสำคัญ การรับรู้ของเด็กแบ่งออกเป็นช่วงวัย สามระยะ คือ 1. ช่วงอายุ 2 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง
5 ด้านจากพ่อ แม่ คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม 2. ช่วงอายุ 3-4 ปี เด็กวัยเริ่มจากการขีดเขี่ยเส้นอย่างไม่เป็นระเบียบซึ่งในช่วงวัยนี้จะเริ่มมีการสร้าง จินตนาการของตนเองได้ เริ่มรู้จักการลงมือทำและทดลองทำด้วยตัวเอง 3. ช่วงอายุ 5-7 ปี เริ่มมีการจัดระดับของสัญลักษณ์กับสภาพแวดล้อม โดยใช้สัญลักษณ์ อันเกิดจาก ความเข้าใจที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ การรู้จักสิ่งที่เป็นตัวแทน รู้จักคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น เริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจความหมาย ชอบลองผิดลองถูก สามารถแยกแยะสิ่งของได้ แต่ไม่สามารถบอกคุณสมบัติได้ ดังนั้นการพัฒนาการตามช่วงวัยนี้ จะเห็นได้ว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู – พี่เลี้ยง จึงมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการพัฒนาศักยภาพของเด็ก ซึ่งนอกจากที่เด็กจะได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆแล้วเป็นมีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาการต่อการเจริญเติบโตของเด็กในอนาคตได้

-2- สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาหลายด้าน มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อสร้างเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นพลเมือง เด็กและเยาวชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะ สังคมในยุคสื่อหลอมรวม แม้จะมีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น แต่สื่อที่เหมาะสมกับเด็กกลับเข้าถึงและเยาวชนในปัจจุบันได้น้อยมาก โดยมีปริมาณการเข้าถึงรวมกันไม่ถึงร้อยละ 10 เด็กใช้เวลาไปกับสื่อสูงถึง 8 – 9 ชั่วโมงใน 1 วัน เกิดพฤติกรรมอันนำไปสู่ทุกขภาวะ เช่น พฤติกรรมเด็กติดเกม การเสพติดสื่อออนไลน์ การติดหน้าจอ การบริโภคขนมขบเคี้ยว และพฤติกรรมแน่นิ่ง ขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เกิดโรคอ้วน โรคสมาธิสั้น โรคทางสายตา อารมณ์แปรปรวนและรุนแรงและความเสื่อมถอยทางทักษะการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่พึงจะมี ในด้านสุขภาวะทางกายของเด็ก ภาวะโภชนาการเกิดและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทย เป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ปี 2557 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Arganization,FAO) ระบุว่า ประเทศไทยมีสถานการณ์ปัญหาในด้านภาวะโภชนาการรุนแรง โดยจัดให้อยู่ในกลุ่ม B: Child Micronutrient Deficiency หรือกลุ่มที่เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทยส่งให้เด็กไทยปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน ผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญาลดลงเรื่อยๆ การสำรวจในรอบ 12 ปี (พ.ศ.2540-2552) พบค่าเฉลี่ยที่ 88-91 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 เช่นเดียวกับพัฒนาการสมวัยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ลดลงจากร้อยละ 72 ในปี 2557 เหลือร้อยละ 67 ในปี 2560 อันสะท้อนถึงภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางกายและสติปัญญาต่ำ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงเป็นสถานที่ที่เด็กๆจะได้การพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ สมอง การเรียนรู้ บุคลิกภาพ รวมทั้งการปลูกฝังการเป็นพลเมืองเด็ก ให้เกิดทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการสื่อสร้างสรรค์ นำไปสู่การเติบโตอย่างมีสุขภาวะดีครบทุกด้านและเป็นพลเมืองดีของสังคม โดยเน้นพัฒนาการและสร้างคุณสมบัติพึงประสงค์ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ได้แก่ 1)อารมณ์ (ควบคุมอารมณ์ได้ ไม่ใช้ความรุนแรง มีความเมตตา 2)ความสัมพันธ์ – ความรู้จักผูกพัน การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น 3)สติปัญญา – ทักษะในการแก้ปัญหา พึ่งตนเอง 4)วินัย – มีความรับผิดชอบ รู้จักถูกผิด 5)รู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น 6)ความฉลาดรู้ทางสุขภาพ ดังนั้นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาวะที่ดีในทุกมิติของเด็กเล็ก ในพื้นที่ตำบลโกตาบารู เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัลมูบารัค เทศบาลตำบลโกตาบารู ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการทุกๆ 3 เดือน พบว่าเด็กร้อยละ 70 จากจำนวนเด็กทั้งหมด มีภาวะโภชนาการเป็นไปตามเกณฑ์อนามัยเมื่อแปลผล น้ำหนักกับส่วนสูง คือสมส่วน สมวัย แต่กลุ่มเด็กที่เหลือร้อยละ 30 ครูร่วมมือกับผู้ปกครองในการเฝ้าระวังติดตามชั่งน้ำหนัก ส่วนสูงทุกเดือน พบว่ามีปัญหาเด็กไม่ค่อยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานลูกอม ขนมกรุบกรอบ ส่งผลให้ปวดฟัน อมอาหาร เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดเพราะฟันผุ ร้องไห้


-3-

งอแงบ่อยๆเมื่อไม่ถูกใจ ไม่ชอบรับประทานผักผลไม้ นอกจากนี้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กเล็ก เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลโกตาบารู ได้ประเมินเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจากเครื่องมือแบบบันทึกพัฒนาการ (DSPM) ของกรมอนามัย พบว่า เด็กควรได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นเพราะอยู่ในกลุ่มเด็กที่สงสัยล่าช้า ร้อยละ 30 จากจำนวนเด็กทั้งหมด อันสะท้อนถึงภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางกายและสติปัญญาต่ำ
นอกจากนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีข้อจำกัดด้านการออกแบบสภาพแวดล้อม แม้จะมีพื้นที่กว้างเพียงพอ แต่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กมีไม่เพียงพอทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัลมูบารัค ได้เห็นความสำคัญของโอกาสในการพัฒนาเด็กด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ จึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ และการละเล่นในพื้นที่สร้างสรรค์ที่ได้รับการจัดการให้เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กอันจะนำไปสู่พัฒนาการที่ดีของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาทักษะครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาวะผ่านสื่อในการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีในทุกมิติ
  1. เด็กมีสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ ได้รับการปลูกฝังการเป็นพลเมืองเด็ก ให้เด็กสามารถเติบโตอย่างมีสุขภาวะดีครบทุกด้านและเติบโตเป็นพลเมืองดีของสังคม โดยเน้นพัฒนาการและการสร้างคุณสมบัติพึงประสงค์ ผ่านการจัดกระบวนการการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์
0.00
2 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการร่วมพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันของเด็กและเยาวชน
  1. เด็ก ผู้ปกครอง และครู ผู้ดูแลเด็กได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพ และสร้างแรงบันดาลใจ
  2. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองให้มีทักษะความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  3. ได้สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการร่วมพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันของเด็กและชุมชน
  4. เด็กมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรงสมวัย
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,970.00 0 0.00
11 - 30 เม.ย. 62 โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 26,970.00 -

ก่อสร้างสนามเด็กเล่นเสริมปัญญา ประกอบด้วย ศาลามุมทราย เดินหลุมอากาศ ปีนป่ายล้อยาง กระดานทรงตัว ก้าวกระโดดสีสัน หนูน้อยฝึกการทรงตัวจากล้อยาง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

. เด็กมีสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ ได้รับการปลูกฝังการเป็นพลเมืองเด็ก ให้เด็กสามารถเติบโตอย่างมีสุขภาวะดีครบทุกด้านและเติบโตเป็นพลเมืองดีของสังคม โดยเน้นพัฒนาการและการสร้างคุณสมบัติพึงประสงค์ ผ่านการจัดกระบวนการการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์ 2. เด็ก ผู้ปกครอง และครู ผู้ดูแลเด็กได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพ และสร้างแรงบันดาลใจ
3. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองให้มีทักษะความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. ได้สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการร่วมพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันของเด็กและชุมชน 5. เด็กมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรงสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2562 15:30 น.