กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลจากทีมสาธารณสุขสู่ชุมชน
รหัสโครงการ 62-L5298-01-04-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.วังพะเนียด
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 12,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฐายิกา สุทธิพูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.702,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลกระทบโดยทั่วเกี่ยวกับการบริหารการจ่ายยาในผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการด้วยอาการเจ็บป่วยต่างๆ อีกทั้งยังมีพื้นฐานการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวที่หลายในหน่วยบริการทั้งในระดับตติยภูมิ ทุติยภูมิ และหน่วยรับบริการระดับปฐมภูมิ ซึ่งได้รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในแต่ละพื้นที่ โดยสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังพะเนียดนั้น จากรายงานการจ่ายยาในปีงบประมาณ 2561 พบว่า มีการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก สูงเป็นอันดับ 3 ของอำเภอเมืองสตูล จาก 21 แห่ง และมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกยาสมุนไพรสูงเพียงร้อยละ 23.58 คิดเป็นอันดับที่ 13 จาก 21 แห่งของหน่วยให้บริการของอำเภอเมืองสตูล ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรณรงค์สนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายย่อมต้องคำนึงถึงหลักการใช้ยาให้สมเหตุผลตามหลักการจ่ายยาที่ว่า ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ซื้อยามารับประทานเอง จากการคาดการอาการการเจ็บด้วยตนเองหรืออาการที่คล้ายจากการเจ็บป่วยครั้งก่อนๆ ทั้งจากร้านขายยาหรือร้านค้าที่ไม่ได้ผ่านการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมจากบุคลากรทางการแพทย์
        ดังนั้น รพ.สต.บ้านวังพะเนียด จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้ ความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกตองเกี่ยวกับการใชยาอย่างเหมาะสม ทั้งในผูปฏิบัติงานดานสุขภาพและประชาชน รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้แพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพร การดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อสงเสริมสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติการใชยาอยางสมเหตุผลและป้องกันการเกิดอาการไม่พึ่งประสงค์จากตัวยาหรือโอกาสการป่วยจากการเกิด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มมากขึ้น ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนสามารถเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกและแนวทางการดูแลตัวเองจากการเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น ข้อที่ 3 เพื่อลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลแก่ประชาชนในชุมชน ข้อที่ 4 เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาและโอกาสการป่วยจากเชื้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย 10 % และผ่าน 60% (จาก Pre-Posttest) กลุ่มเป้าหมายมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น 20% จากเดิม อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลลดลง 20 % จากเดิม ไม่มีการเกิดเชื้อดื้อยาและโอกาสการป่วยจากเชื้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ     2. ร่างแบบเขียนโครงการเพื่อนำเสนอ     3. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ     4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสาร     5. มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงาน
    6. ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผู้นำชุมชน อสม. และ อบต.เกตรี     7. ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชน และ อสม. ในทุกหมู่บ้าน ของตำบลเกตรี     8. ประชุมทีมงานเพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ขั้นดำเนินการ

    1. ดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลจากทั้งในและนอกสถานบริการ เพื่อนำมาวางแผนการปฏิบัติงานโครงการ     2. ดำเนินกิจกรรมช่วงเดือน มกราคม – สิงหาคม 2562 จำนวน 70 คน รายละเอียดดังกิจกรรมต่อไปนี้   2.1 ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ   2.2 ให้ความรู้เรื่องแนวทางการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ
  2.3 ให้ความรู้เกี่ยวโรค, ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลแก่ประชาชน   2.4 ให้ความรู้และแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเองและการให้ความรู้เกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกแก่ประชาชน       2.5 จัดรณรงค์ลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลแก่ประชาชนและในหน่วยงานการให้บริการ
      สุขภาพในชุมชน       2.6 ประเมินผลโครงการ สรุปผลการดำเนินงานพร้อมนำเสนอผู้บริหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
2 ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไม่พึ่งประสงค์และการเกิดเชื้อดื้อยา
จากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล 3 ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกและแนวทางการดูแลตัวเอง   4 อัตราการใช้ยาและการจ่ายยาอย่างไม่สมเหตุผลลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2562 16:37 น.