กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบอกลาภาวะทุพโภชนาการ
รหัสโครงการ L7257-02-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง)
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประเจิน ไชยมาลีอุปถัมภ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.006,100.503place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ ถ้าอาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยเรียน  ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยเรียน ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) ณ สิ้นภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๑ พบว่า จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๔๑๗ คน นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๖๗ นักเรียนที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม) ๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ 7.๑๙ นักเรียนที่มีส่วนสูงต่ำกว้าเกณฑ์ (เตี้ย) ๒7 คน คิดเป็นร้อยละ 6.๔๗ นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ (อ้วน) ๑8 คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๓๒ นักเรียนที่มีน้ำหนักเริ่มอ้วน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๘๘ ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการบอกลาภาวะทุพโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑.เพื่อส่งเสริมภาวะทางโภชนาการ การปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม ข้อที่ ๒.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กสามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับวัยให้แก่เด็กภาวะทุพโภชนา การ ได้อย่างถูกต้อง ข้อที่ ๓.เพื่อให้เด็กภาวะทุพโภชนาการ มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น

ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนที่มีโภชนาการสมส่วนตามเกณฑ์ ร้อยละ ๘๕ ของนักเรียนที่ได้รับการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจของโครงการบอกลาภาวะทุพโภชนาการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ประชุม ชี้แจง ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง       ๓. เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการนักเรียนปลายภาคเรียนที่ 1 และ ภาคเรียนที่ 2       ๔. ติดต่อ ประสานงานขอความร่วมมือจากเฮลท์แคร์คลินิกเวชกรรม (ภาคีเครือข่ายส่วนร่วมกับโรงเรียน)       ๕. ตรวจคัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพโดยแพทย์ประจำเฮลท์แคร์คลินิกเวชกรรมเพื่อค้นหาสาเหตุและให้ความช่วยเหลือ         ที่เหมาะสม       ๖. แพทย์จ่ายยาเสริมวิตามินให้เด็กอายุ 4 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์รับประทาน       ๗. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนภาวะทุพโภชนาการและแจกเอกสารใบความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง       ๘. แจกแบบบันทึกการรับประทานอาหารให้แก่ผู้ปกครอง       ๙. จัดอาหารเสริมให้นักเรียนทีมีที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เป็นพิเศษ รีบประทานในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน       ๑๐. จัดกิจกรรมออกกำลังกายกระโดดเชือก (ในเด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์และค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ ) การออกกำลังกาย         ในเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์       ๑๑. ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ (อายุ ๑ วัน – ๑๙ ปี)
            โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
          ๑๒. ประเมินผลการดำเนินงานโดยเปรียบเทียบผลน้ำหนักส่วนสูงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการก่อนดำเนินการและ
            หลังดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาต่อไป       ๑๓. สรุปและรายงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนได้รับการตรวจประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน และทุพโภชนาได้รับการแก้ไข
  ทุกคน ๒. นักเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย ๓. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็กวัยเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2562 09:43 น.