กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ
รหัสโครงการ 62-L8287-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2562 - 13 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 30,996.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววัศร์กมล เหมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 มิ.ย. 2562 13 ก.ย. 2562 30,996.00
รวมงบประมาณ 30,996.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยระหว่าง 1-6 ปีหรือวัยก่อนเรียนการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการจะช่วยให้ร่างกายเด็กเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมทั้งนี้เด็กควรได้รับอาหารมื้อหลัก3 มื้อที่มีคุณค่าครบ5 หมู่และหลากหลายอาหารว่างไม่เกินวันละ2 มื้อและอย่างลืมให้เด็กดื่มนมวันละ 2-3 แก้วด้วยโภชนาการที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูก ซึ่งการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสมอง โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองในช่วง 3 ขวบปีแรก
การเติบโตของเด็กมีปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน ภาวะโภชนาการ โรคทางกาย และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กสามารถตรวจสอบการเจริญเติบโคของเด็กได้โดยวัดความยาวหรือส่วนสูง น้ำหนัก และวัดเส้นรอบศีรษะ ร่วมกับการดูขนาดของกระหม่อม ขนาดเส้นรอบอกและการขึ้นของฟันอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายของเด็ก คืออาหารต้องได้ครบ 5 หมู่ในปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอเหมาะสมกับวัยทุกวัน ซึ่งในอาหารของเด็กควรมีสารอาหาร โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เพราะสารอาหาร 2 ชนิดนี้ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหาร การขาด โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ที่อยู่ในปลาและเนื้อสัตว์จะทำให้ลูกไม่เติบโต ส่วนไขมันก็เป็นสิ่งสำคัญต่อระบบสมอง ดังนั้นควรได้ไขมันที่เป็นไขมันดีที่มีอยู่ในปลา โดยเฉพาะปลาทะเล
อย่างไรก็ดีการทานอาหารเกินความต้องการของร่างกายก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน หรือแม้แต่การให้ดื่มนมเกินปริมาณจะทำให้เกิดภาวะอ้วน ผลไม้รสหวานจัดก็ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน ดังนั้นเด็กจึงควรได้รับอาหารที่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กจัดให้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ จึงเรียกได้ว่าเป็นสุขโภชนาการ ซึ่งการรับประทานที่ดีและสมส่วนจะมีผลทำให้ภาวะโภชนาการดีแล้ว ยังจะส่งผลถึงสุขภาพให้เด็กมีภูมิคุ้มกันที่ดี ห่างไกลโรคติดต่อต่างๆ แต่นอกจากการรับประทานอาหารที่ดีให้ห่างไกลโรคแล้ว สภาพแวดล้อมและการดูแลเรื่องความสะอาดให้แก่เด็ก ตลอดจนการสร้างสุขนิสัยที่ดีแก่เด็กในการดูแลตนเองให้เด็กห่างไกลจากโรคติดต่อ นอกจากการส่งเสริมด้านโภชนาการ การดูแลเด็กให้ห่างไกลโรคติดต่อแล้ว การสุขภาพช่องปากเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก จะต้องดูแลโดยจะต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กและ ดูแลควบคู่กันไป เนื่องจากทุกส่วนล้วนมีความเกี่ยวข้องกันซึ่ง ต้องส่งเสริมทุกด้านของเด็กให้เหมาะสม ตลอดจนสร้างสุขลักษณะนิสัยในการดูแลสุขภาพให้เด็กได้ตระหนักและเห็นความสำคัญอย่างเหมาะสมกับวัย จากความสำคัญของโภชนาการ โรคติดต่อในเด็ก และสุขภาพช่องปาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสถานศึกษาที่ดูแลเด็กกลุ่มปฐมวัย ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้มีบทบาทสำคัญเช่นเดียวกับผู้ปกครองในการดูแลเด็กก็ควรให้ความสำคัญในเรื่องข้างต้นให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากเด็กมีปัญหาไม่ว่าด้านใดด้านหนึ่งก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และที่สำคัญคือส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ครู ผู้ดูแลเด็กจึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี โดยเป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองในการดูแลเรื่องโภชนาการ โรคติดต่อในเด็ก และสุขภาพช่องปาก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดีสมส่วน และพัฒนาการที่สมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องโภชนาการ สุขภาพช่องปากและโรคติดต่อในเด็ก ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็กผู้ปกครองและสถานศึกษา

ร้อยละ ๑๐๐ ของเด็กทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และการดูแลอย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ด้านทันตกรรม

100.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย

ร้อยละ ๑๐๐ ของเด็กได้รับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีสารอาหารครบทั้ง ๕ หมู่ และถูกหลักโภชนาการ

100.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก

ร้อยละ ๖๕ ของผู้ปกครองซึ่งเข้าร่วมโครงการและได้รับความรู้ในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโภชนาการ และสุขภาพช่องปากเด็ก

65.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,346.00 2 29,796.00
3 มิ.ย. 62 - 13 ก.ย. 62 เก็บข้อมูล 0 3,000.00 3,000.00
27 มิ.ย. 62 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง 0 29,346.00 26,796.00

๑. นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณา ๒. ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ สุขภาพช่องปากและฟัน โรคติดต่อ ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ๓. ประสานงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเด็ก เพื่อเก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายน และ กันยายน  พ.ศ.๒๕๖๒
๔. ประสานงานผู้ปกครองในการเข้าร่วมโครงการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๕. ครู ผู้ดูแลเด็ก ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้     ๕.๑ เก็บข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง ตั้งแต่เดือน มิถุนายน - กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒     ๕.๒ สรุปผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก ตั้งแต่เดือน มิถุนายน - กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒     ๕.๓ เก็บข้อมูลด้านสุขภาพของเด็ก ตั้งแต่เดือน มิถุนายน - กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ ๖. ลักษณะของการดำเนินโครงการ : จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยจำแนกเป็นฐานกิจกรรม ๓ ฐาน ดังนี้ - ฐานโภชนาการเด็ก - ฐานสุขภาพช่องปากและฟัน - ฐานโรคติดต่อในเด็ก ๗. สรุปผลกิจกรรม และมอบเกียรติบัตรหนูน้อยสุขภาพดี เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ ๘. สรุปผลโครงการ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๒

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความเข้าใจในเรื่องโภชนาการ สุขภาพช่องปากและโรคติดต่อในเด็ก ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็กผู้ปกครองและสถานศึกษา
  2. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และโรคติดต่อในเด็ก
  3. ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2562 09:55 น.