กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ
รหัสโครงการ 62-L5282-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบต.อุใดเจริญ
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 7,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศักดิ์ตะวัน สันเกาะ
พี่เลี้ยงโครงการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.903,99.932place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหาร มีความสำคัญและเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กปฐมวัย อาหารช่วยในการพัฒนาร่างกาย การเรียนรู้ สติปัญญาความฉลาด ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งเด็กในวัย 2-5 ปี มีการใช้พลังงานในการประกอบกิจกรรมต่างๆรวมถึงการเล่น และเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับอาหารอย่างเพียงพอ เหมาะสม และมีสุขภาพที่ดี จะต้องได้รับอาหารครบ 5 หมู่ เป็นประจำทุกวัน มีอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อ ได้ดื่มนมจืดวันละ 2-3 แก้ว และต้องฝึกให้เด้กกินผักและผลไม้จนเป็นนิสัย ให้กินอาหารรสธรรมชาติ คือ ไม่หวานจัด มันจัด หรือเค็มจัด อาหารต้องมีความสะอาด ดื่มน้ำสะอาด เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้มีวินัยในการกินอาหาร

ดังนั้น อบต.อุใดเจริญ จึงเห็นควรอย่างยิ่งในการจัดให้มีโครงการเพื่อการเฝ้าระวัง ตรวจสอบคุณภาพของอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เป็นไปตามมาตรฐานโภชนาการ

สำหรับคุณภาพอาหารนั้น ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร ให้คำจัดความไว้ว่า คุณภาพอาหารหมายถึง ลักษณะในด้านต่างๆของอาหารที่มีผลต่อความต้องการของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค และสอดคล้องกับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดยคุณภาพอาหารจำแนกเป็น

  1. คุณภาพทางกายภาพ (physical quality) ขนาด รูปร่าง ตำหนิ ปริมาตร น้ำหนักสุทธิ น้ำหนักเนื้อ

  2. คุณภาพทางประสาทสัมผัส (sensory quality) เป็นคุณภาพสามารถรับรู้ได้ด้วยมนุษย์ โดยใช้การประเมินทางประสาทสัมผัส (sensory evaluation) ซึ่งมีผลต่อการยอมรับของผู้บริโภค เช่น ลักษณะปรากฏที่ประเมินด้วยสายตา (appearance) เช่น สี ความสม่ำเสมอของสี และความผิดปกติของสี กลิ่นรส ได้แก่ รสหวาน รสเปรี้ยว รสขม กลิ่นหอม กลิ่นหอม กลิ่นรสที่ผิดปกติ (off-flavor) เช่น กลิ่นไหม้ กลิ่นหมัก กลิ่นหืนเนื้อสัมผัส เช่น ความแข็ง ความเหนียว ความกรอบ

  3. คุณค่าทางโภชนาการ (nutrition value) หมายถึง ชนิดและปริมาณของส่วนประกอบทางเคมี ซึ่งมีผลต่อคุณค่าทาง โภชนาการ และการเก็บรักษาปริมาณน้ำ (moisture content) สารอาหารหลักที่ให้พลังงาน ได้แก่ น้ำ คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร ไขมัน และโปรตีน กรดแอมิโนที่จำเป็น และ กรดไขมันที่จำเป็น สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ เกลือแร่ วิตามิน รงควัตถุ และสารให้กลิ่นรส

  4. คุณภาพทางจุลินทรีย์ หมายถึง ชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา โคลิฟอร์ม (coliform) จุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) ที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งมีผลต่อการเสื่อมเสีย (microbial spoilage) บ่งชี้ถึงสุขลักษณะของการผลิตอาหารและอาจนำสู่เป็นอันตรายในอาหาร (biological hazard)

  5. ความปลอดภัยต่อการบริโภค (safety) หมายถึง อันตรายทางเคมี (chemical hazard) ได้แก่ สารพิษตามธรรมชาติ โลหะหนักวัตถุอันตรายทางการเกษตร สารพิษจาก เชื้อรา (mycotoxin) การปนเปื้อนของจุลินทรียก่อโรค คุณภาพที่ซ่อนเร้น

ดังนั่น องค์การบิหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ตะหนักและเห็นความสำคัญในสุขภาวะของเด็กปฐมวัย จึงได้เสนอโครงการเพื่อการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพของอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดด้านโภชนาการของเด็กปฐมวัย ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย การเรียนรู้ สติปัญญาความฉลาด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ศพด.ทุกแห่ง ได้รับการตรวจสอบคุณภาพของอาหารผู้ปรุงอาหาร การขนย้ายอาหาร ทุกๆ3 เดือน

0.00
2 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 100 ของเด็กนักเรียนปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรม ตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้ชุดทดสอบ 0 7,920.00 0.00
รวม 0 7,920.00 1 0.00
  1. เสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับเงินการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.อุใดเจริญ พิจารณาอนุมัติ

  2. เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการตามแผนงานที่ได้รับอนมุัติตามข้อ 1

  3. ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำข้อตกลง MOU ในการเข้าไปตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรายไตรมาส

  4. จัดเตรียมคู่มือความรู้ด้านโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย และการตรวจสอบคุณภาพอาหาร

  5. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ ชุดทดสอบสำหรับตรวจสอบคุณภาพอาหาร

  6. เก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการพร้อมเอกสารเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการ เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ อบต.อุใดเจริญ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.อุใดเจริญ ทุกแห่งมีการเฝ้าระวัง มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารความปลอดภัยของอาหารเป็นประจำตลอดทั้งปี

2.ผู้ปกครอง ครูผู้ดุแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องสุขาภิบาลและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฎิบัติงาน การปรับพฤติกรรม การเลือกวัตถุดิบในการปรุงอาหารและการประกอบอาหารได้อย่างถูกต้องและถูกหลักอนามัย

3.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการเฝ้าระวัง การตรวจสอบคุณภาพอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

4.เด็กก่อนวัยเรียนทุกคน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด อบต.อุใดเจริญ ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2562 10:13 น.