กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ปี 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.คลองแงะ
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2563
งบประมาณ 110,022.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชารัตน์ รัตน์ธาวัลย์ ผอ.รพ.สต.คลองแงะ
พี่เลี้ยงโครงการ ดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศปัญหาหนึ่ง ระยะแรกของการระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยมักมีการระบาดปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปีแต่ในระยะหลังกลับพบว่าการระบาดไม่มีแบบแผนแน่นอน จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลา ปี ๒๕๖๑ พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม สงขลา(ณ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ) ผู้ป่วยไข้เลือดออก ๒,๕๐๐ ราย อัตราป่วย ๑๗๗.๔๖ ต่อประชากรแสนคน สำหรับสถานการณ์ของโรคในอำเภอสะเดาใน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ พบผู้ป่วย จำนวน ๒๑๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๖๑.๙๘ ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต  ส่วนในเขตพื้นที่ หมู่ ๓,๔ และ ๕ พบผู้ป่วยจำนวน ๑๖ โดยเป็นผู้ป่วยในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะจำนวน ๑๔ ราย ถึงแม้ว่าจะพบผู้ป่วยในปี ๒๕๖๑ลดลง แต่ก็ยังจำเป็นควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง เพราะธรรมชาติของการระบาดโรคไข้เลือดออก จากการดูสถิติย้อนหลัง ๕ ปี พบว่า มีการระบาดด้วยโรคไข้เลือดออก ๑ ปี เว้น ๒ ปี ซึ่งตรงกับปี ๒๕๖๒ และผนวกกับปีที่ผ่านมาพบว่านอกจากโรคไข้เลือดออกแล้วยังพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya fever) ซึ่งมีพาหะนำโรคเป็นยุงลาย อีกด้วย
    โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือชิคุนกุนยา (Chikungunya fever) จากการรายงานในระบบเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2560 พบผู้ป่วยสูงสุดในปี พ.ศ. 2557 จำนวน 190 ราย อัตราป่วย 0.29 ต่อประชากรแสนคน แต่ในปี พ.ศ. 2558 - 2560 ผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่องและลดลงต่ำสุดในปี พ.ศ. 2560  จำนวน 10 ราย อัตราป่วย 0.01 ต่อประชากรแสนคน ยังไม่รายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 พบผู้ป่วยสะสม 642 ราย อัตราป่วย 0.98 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาถึง 27 เท่า สำหรับไข้ชิคุนกุนยา ในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ ในปี 2561 นั้นพบผู้ป่วยที่อยู๋ในระบบ มีรายงานจากโรงพยาบาลตามระบบ 506 จำนวน 3 ราย และเป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบรายงาน 506 ซึ่งได้รับการรักษาในคลินิกต่างๆ จำนวน 3 ราย รวมเป็น 6 ราย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นโรคติดต่อมียุงลายเป็นพาหะให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีมาตรการการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องและระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายตัวแก่ที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้หมู่บ้านตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก แต่ปัจจัยหลังที่ทำให้พบผู้ป่วยในทุกปีนั้นคือปัญหาขยะและมีแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน ซึ่งในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะเป็นเขตชุมชนกึ่งเมืองทั้งยังมีอาณาเขตในการดูแลกว้างขวาง ทำให้การสอดส่องดูแลเรื่องการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายนั้นยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร จึงยังทำให้มีภาชนะที่สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายหลงเหลือในชุมชน อีกทั้งการกระตุ้นความตระหนักต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนยังมีน้อย การลงสุ่มสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนจึงมีความสำคัญต่อการควบคุมทางกายภาพเพื่อลดการเกิดโรค เพื่อให้ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคือ น้อยกว่าร้อยละ 10 ในชุมชน จึงจำเป็นต้องสุ่มตรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำในชุมชน ร่วมด้วยกับการพ่นเคมี กำจัดยุงลายตัวแก่ในชุมชน เพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเร่งรัด การควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และการส่งเสริมการป้องกันโรคและการระบาดของโรคในพื้นที่ จึงได้จัดทำ โครงการชุมชนคลองแงะร่วมใจ ขจัดภัยร้ายไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในหมู่บ้าน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ชิคุกุนยา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  1. ความร่วมมือขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน
1.00
2 ๒. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายลดลง เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐาน  ๕  ปีย้อนหลัง
1.00
3 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยง ในชุมชน โรงเรียน และวัด ที่เป็นแหล่งโรค
  1. สามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่บ้านได้ครอบคลุม ๙๐%
  2. สามารถกำจัดยุงลายตัวแก่ด้วยวิธีการพ่นละอองฝอย ได้คลอบคลุมทุกหลังคาเรือน ๑๐๐ %
  3. ดัชนีลูกน้ำยุงลาย < 10 ในชุมชน และ = 0 ในโรงเรียน  วัด สถานที่ราชการ
1.00
4 เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

๑. โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กลวิธีที่ ๑ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ ๑ กำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายในหมู่บ้าน,วัด,มัสยิด,และสถานที่ราชการ ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมร่วมเพื่อเตรียมการโดย เทศบาลตำบล,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล,โรงเรียน,ผู้นำหมู่บ้าน,ผู้นำศาสนา และ อสม.ทุกชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลพังลา
๒. เตรียมเวชภัณฑ์,น้ำยาและเครื่องพ่นละอองฝอย ๓.  ฝึกซ้อมการใช้เครื่องพ่นละอองฝอย ๔.  จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์ ในชุมชน,วัดและสถานที่ราชการ ขั้นดำเนินการ ๑. ประชาสัมพันธ์การควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลาย โดย a. ใช้ทรายอะเบทและเคมีภัณฑ์อื่น ๆ ในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย b. การพ่นหมอกควันประจำปี ( ๒ ครั้ง/ ปี) c. การพ่นหมอกควันในกรณีมีการระบาด หรือมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก d. สำรวจดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย บ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย(H.I.) ทุกเดือน โดย อสม. ๒. การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย(ดำเนินการทุก ๗ วัน) โดยเจ้าของบ้านได้แก่ a. การปกปิดภาชนะเก็บน้ำฝนด้วยฝาปิด b. การคว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ประโยชน์ เพื่อไม่ให้รองรับน้ำ c. การเผา ฝังทำลาย หรือกลบทิ้งเศษวัสดุที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย d. การขัดล้างภาชนะกักเก็บน้ำทุก ๗ วัน ๓. ทำลายลูกน้ำยุงลาย a. วิธีทางกายภาพ เช่น การคว่ำ ฝัง เผาทำลายภาชนะต่าง ๆที่ไม่ใช้ประโยชน์ b. วิธีใช้สารเคมี เช่น ทรายอะเบทฆ่าลูกน้ำ น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก เกลือแกง c. วิธีทางชีวภาพ เช่นปล่อยปลากินลูกน้ำ 4.  ออกพ่นเคมี( ละอองฝอย) ประจำปี ( ๒ ครั้ง/ ปี)ในโรงเรียน,สถานที่ราชการ,วัด และในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ ๒ กำจัดลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย กรณีเกิดการระบาดและมีรายงานผู้ป่วย ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมร่วมเพื่อเตรียมการโดย เทศบาลตำบล,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล,โรงเรียน,ผู้นำหมู่บ้าน,ผู้นำศาสนา และ อสม.ทุกหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ 2.  เตรียมเวชภัณฑ์,น้ำยาและเครื่องพ่นละอองฝอย ๓.  จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์ ในหมู่บ้าน,วัดและสถานที่ราชการ ขั้นดำเนินการ 1. ประกาศเตือนประชาชนให้ทราบว่ามีโรคไข้เลือดออกระบาดในชุมชนนั้น พร้อมกับให้  สุขศึกษาแก่ประชาชน ให้รู้จักวิธีการป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ยุงลายกัด ให้ความรู้วิธีปฏิบัติเมื่อเด็กป่วยหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก 2. ประสานงานกับ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้ป่วย ร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วย บริเวณรอบบ้านผู้ป่วยควรดำเนินการในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร และประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ที่เกิดโรคหลังการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ควรมีค่า HI < 10 ๓. ใช้มาตรการเร่งด่วนในการควบคุมโรค ( 3-1-1 ) 4. หากเกิดมีผู้ป่วย ควรดำเนินการควบคุมป้องกันโรค แหล่งแพร่โรค (หมู่บ้านหรือชุมชน) โดยพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วย และพื้นที่รอบบ้านผู้ป่วยในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตรควรพ่นอย่างน้อย 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน
๕. สอบสวนโรคโดยใช้แบบสอบสวนเฉพาะราย และส่งรายงานให้ทันเวลาภายใน 24 ชั่วโมง 6. รายงานโรคไข้เลือดออก (DF/DHF/DSS) ทั้งรายที่สงสัยและที่ได้รับการยืนยันทันที เพื่อการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน
ระยะเตรียมการ ๑. ประชุมร่วมเพื่อเตรียมการโดย เทศบาลตำบล,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, โรงเรียน   อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ 2. เตรียมเวชภัณฑ์,น้ำยาและเครื่องพ่นละอองฝอย ๓. จัดเตรียมสื่อสุขศึกษา ระยะดำเนินการ
๑. การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย(ดำเนินการทุก ๗ วัน) โดยนักเรียน
1.1 การปกปิดภาชนะเก็บน้ำฝนด้วยฝาปิด 1.2 การคว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ประโยชน์ เพื่อไม่ให้รองรับน้ำ 1.3 การเผา ฝังทำลาย หรือกลบทิ้งเศษวัสดุที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 1.4 การขัดล้างภาชนะกักเก็บน้ำทุก ๗ วัน 1.5 ใสทรายอะเบทในน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย
๒. พ่นเคมีกำจัดยุงลาตัวแก่ ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1  ช่วงเดือน พฤษภาคม จำนวน 2 รอบ 3.  แกนนำไข้เลือดออกแต่ละโรงเรียน มีการสุ่มค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเดือนละ ๑ ครั้ง โดยค่าCI ของแต่ละโรงเรียนจะต้องไม่เกินค่ามาตรฐาน ( CI= 0 )

กลวิธีที่ ๒  รณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
กิจกรรมที่ ๑  กิจกรรมรณรงค์ แจกทรายอะเบท แผ่นพับให้ความรู้ พร้อมทั้งประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย
( CI , HI ) ในแต่ละชุมชน
ระยะเตรียมการ ๑. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. ประชุมวางแผน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดเตรียมอุปกรณ์ประชาสัมพันธ์
๔. จับฉลาก แบ่งวันและชุมชน ในการลงรณรงค์ โดยการไขว้ชุมชน เพื่อสำรวจ ( HI , CI )
            ๕. แบบฟอร์มสำรวจ ค่า ( HI,CI ) ระยะดำเนินการ ๑. จับฉลากไขว้ ชุมชนในการสุ่มค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HI , CI )
๒. อสม เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน ลงพื้นที่สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยสุ่มตรวจชุมชนละ 40-50 หลังคาเรือน พร้อมทั้งแจกทรายอะเบท พร้อมทั้งให้สุขศึกษารายหลังคาเรือนและแจกแผ่นพับ
๓. สุ่มทั้งหมด 2 ครั้ง  โดยค่า HI และ CI ไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน (

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านได้ครอบคลุม 100 % ๒. สามารถควบคุมแหล่งพันธ์ลูกน้ำยุงลายที่โรงเรียน,วัดและสถานที่ราชการได้ครอบคลุม ๑๐๐% ๓. สามารถลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ ๔. ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความตระหนักและสามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายได้ต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2562 14:20 น.