กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
รหัสโครงการ 2562-L3310-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกยา
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจีรยา ชำนาญกิจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 92 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งเกิดจากสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันเพื่อจะสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวานก็เป็นโรคหนึ่งที่มีอุบัติการณ์การเกิดโรคที่เพิ่มขึ้น ต้องใช้งบประมาณในการรักษาจำนวนมาก ผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆสามารถป้องกันได้ ถ้าประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยรายใหม่ได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม ปีงบประมาณ 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยามีกลุ่มเป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,043 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจากการคัดกรองจำนวน123 คน กลุ่มสงสัยเป็นโรค 11 คน และผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 12 คน เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 5 คน จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานแยกเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้หมู่ที่ 1 จำนวน70 คนหมู่ 9 จำนวน70 คนและหมู่ 14 จำนวน43 คน รวมทั้งหมด 183 คน ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 64 คนพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 12 คน ซึ่งถือว่าเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาที่จะต้องลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรค ให้กลับมาเป็นกลุ่มปกติให้มากที่สุดโดยใช้แนวทางตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเป็นบทบาทหน้าที่ในการป้องกันควบคุมโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนางานขึ้นเสริมจากงานปกติ (งานเชิงรุก)โดยมีกลยุทธ์ กลวิธีที่มีลักษณะเฉพาะที่เน้นการให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เห็นในเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างทักษะการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรค กลุ่มป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมดีขึ้นในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับมาเป็นกลุ่มปกติ

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 100%

0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อให้กลุ่มป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบาหวานรายใหม่ สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

2.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หรือเกิดไม่เกินร้อยละ 10

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง

3.กลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4 จากกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,000.00 0 0.00
??/??/???? 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 0 11,000.00 -

จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ผ่านการคัดกรองโรคเบาหวานโดยการทดสอบความทนทานต่อกลูโคส ( 75 กรัม OGTT ) จำนวน 96 คน จำนวน 1 วัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ผ่านการคัดกรองโรคเบาหวานโดยการทดสอบความทนทานต่อกลูโคส ( 75 กรัม OGTT ) ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 100%
  2. กลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4 จากกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด
  3. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หรือเกิดไม่เกินร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2562 15:53 น.