กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 100% 2.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หรือเกิดไม่เกินร้อยละ 10
3.กลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4 จากกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับมาเป็นกลุ่มปกติ
ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 100%
0.00

 

2 ข้อที่ 2เพื่อให้กลุ่มป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบาหวานรายใหม่ สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
ตัวชี้วัด : 2.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หรือเกิดไม่เกินร้อยละ 10
0.00

 

3 ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง
ตัวชี้วัด : 3.กลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4 จากกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 92 92
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 92 92
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งเกิดจากสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันเพื่อจะสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเบาหวานก็เป็นโรคหนึ่งที่มีอุบัติการณ์การเกิดโรคที่เพิ่มขึ้น ต้องใช้งบประมาณในการรักษาจำนวนมาก ผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆสามารถป้องกันได้ ถ้าประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยรายใหม่ได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม     ปีงบประมาณ 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยามีกลุ่มเป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,043 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจากการคัดกรองจำนวน 123 คน กลุ่มสงสัยเป็นโรค 11 คน และผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 12 คน เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 5 คน       จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานแยกเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 จำนวน 70 คน หมู่ 9 จำนวน 70 คน และหมู่ 14 จำนวน 43 คน รวมทั้งหมด 183 คน ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 64 คน พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 12 คน ซึ่งถือว่าเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาที่จะต้องลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรค ให้กลับมาเป็นกลุ่มปกติให้มากที่สุด โดยใช้แนวทางตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินงาน       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเป็นบทบาทหน้าที่ในการป้องกัน ควบคุมโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนางานขึ้นเสริมจากงานปกติ (งานเชิงรุก) โดยมีกลยุทธ์ กลวิธีที่มีลักษณะเฉพาะที่เน้นการให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เห็นในเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างทักษะการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรค กลุ่มป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมดีขึ้นในโอกาสต่อไป

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับมาเป็นกลุ่มปกติ (2) ข้อที่ 2เพื่อให้กลุ่มป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบาหวานรายใหม่ สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน (3) ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh