โครงการสุขกาย สบายใจ วัยชรา
ชื่อโครงการ | โครงการสุขกาย สบายใจ วัยชรา |
รหัสโครงการ | 62-L8013-2-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุ |
วันที่อนุมัติ | 2 พฤษภาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 พฤษภาคม 2562 - 29 สิงหาคม 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 16 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมนูญ เพชรกาญจนมาลา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.369,101.508place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทั้งนี้สืบเนื่องจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เช่น ด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น ทั้งนี้ สำหรับสังคมไทยผู้สูงอายุนับเป็นทรัพยากรและต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของบุคคลในสังคม ซึ่งหากผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดีและสามารถพึ่งพาตนเองได้จะสามารถเป็นพลังสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนครอบครัว ชุมชน และสังคมให้เข้มแข็งต่อไป ทั้งนี้ จากสถานการณ์ที่ผ่านมา พบว่า ชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์แพทย์ชุมชน นับเป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและสร้างแกนนำในการพัฒนาคุณภาพของผู้สูงอายุ รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการเบื้องต้นของสมาชิกได้ เช่น ด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และด้านสังคม ส่งผลให้สมาชิกมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น จึงกล่าวได้ว่า ชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์แพทย์ชุมชน เป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในการร่วมดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลรือเสาะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ “สุขกาย สบายใจ วัยชรา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และด้านสังคม รวมทั้งส่งเสริมความยั่งยืนในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. ส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุในชมรม 1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพร้อยละ 80 2. ผู้สูงอายุได้รับความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | 2. ส่งเสริมการเข้าร่วมสังคมและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ให้แก่ผู้สูงอายุในชมรม
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
30 พ.ค. 62 | ๑. ชื่อกิจกรรม “การฝึกทักษะและการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ” | 60 | 8,800.00 | - | ||
27 มิ.ย. 62 | ชื่อกิจกรรม “สร้างเสริมทักษะการดูแลผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทยสำหรับผู้สูงอายุ” | 60 | 11,400.00 | - | ||
25 ก.ค. 62 | ชื่อกิจกรรม “เพื่อนช่วยเพื่อน” | 60 | 11,400.00 | - | ||
29 ส.ค. 62 | ชื่อกิจกรรม “การผ่อนคลายความเครียดในผู้สูงอายุ โดยใช้ดนตรีบำบัด” | 60 | 8,400.00 | - | ||
รวม | 240 | 40,000.00 | 0 | 0.00 |
- ประชุมชี้แจงแกนนำผู้สูงอายุ และแต่งตั้งคณะทำงานผู้สูงอายุในการดำเนินงานชมรม
- ดำเนินกิจกรรมร่วมกันเดือนละ 1 ครั้ง ประกอบด้วย
ครั้งที่ 1 กิจกรรม “การฝึกทักษะและการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ” ประกอบด้วย
1) ฐานที่ 1 ประเมินปัญหาสำคัญ และโรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สุขภาพทางตา และประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ทฤษฏีและปฏิบัติตามฐาน)
2) ฐานที่ 2 ประเมินสมรรถภาพสมอง ภาวะซึมเศร้า ข้อเข่าเสื่อม ภาวะหกล้ม (ทฤษฏีและปฏิบัติตามฐาน)
3) ฐานที่ 3 ประเมินสุขภาพช่องปากและฟัน (ทฤษฏีและปฏิบัติตามฐาน)
4) ฐานที่ 4 ให้ความรู้พื้นฐานและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพด้านต่างๆในผู้สูงอายุ
ครั้งที่ 2 กิจกรรม “การสร้างเสริมทักษะการดูแลผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทยสำหรับผู้สูงอายุ” ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน การทำลูกประคบและการประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ และการทำยากันยุงจากสมุนไพรตะไคร้หอม
ครั้งที่ 3 กิจกรรม “เพื่อนช่วยเพื่อน” ประกอบด้วย 1) อบรมอาสาเพื่อนช่วยเพื่อน โดยให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 2) การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพสมาชิกผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย
ครั้งที่ 4 กิจกรรม “การผ่อนคลายความเครียดในผู้สูงอายุ โดยใช้ดนตรีบำบัด” ประกอบด้วย 1) การจัดอบรมความรู้เรื่องความเครียดและทักษะการปฏิบัติเพื่อการผ่อนคลายความเครียดโดยใช้ดนตรีบำบัดในผู้สูงอายุ” (ทฤษฏีและปฏิบัติ) 2) แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเองในผู้สูงอายุ 3. สะท้อนคิดจากกิจกรรม - สรุปและประเมินผลโครงการ
- ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีตามวัย คงไว้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
- ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และมีการปรับตัวเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- ชมรมผู้สูงอายุมีแกนนำในการร่วมดูแลผุ้สูงอายุในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2562 14:49 น.