โครงการแกนนำวัคซีน
ชื่อโครงการ | โครงการแกนนำวัคซีน |
รหัสโครงการ | 62-L8013-2-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน |
วันที่อนุมัติ | 2 พฤษภาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 มิถุนายน 2562 - 7 มิถุนายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 24 มิถุนายน 2562 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางคอรีเป๊าะ ดอเลาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.369,101.508place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียนซึ่งเป็น
ประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ซึ่งการได้รับวัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดในเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ไข้สมองอักเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอจะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคสำคัญที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
สถานการณ์การเกิดโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ทำสำคัญในช่วง 1
ปีที่ผ่านมา ได้แก่ การระบาดของโรคหัดที่พบผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยจากโรคจำนวนมาก ทั้งที่โรคหัดเป็นโรคที่สามารถ
ปองกันไดโดยการฉีดวัคซีน สำหรับจังหวัดนราธิวาส พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยไข้ออกผื่น/สงสัยโรคหัดจํานวน 425 ราย และมีผูเสียชีวิต 1 ราย สำหรับอําเภอรือเสาะ พบว่า มีการแพรระบาดของโรคหัดมากที่สุดในจังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้ ผู้ป่วยสวนใหญเป็นกลุมเด็กเล็ก อายุ 0-5 ป
จากการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการได้รับวัคซีน
ในเด็ก 0-5 ปี พบว่า ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลปฏิเสธการให้บุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีน สาเหตุสำคัญเกิดจาก ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน เช่น บุตรหลานไข้จากการฉีดวัคซีน ร่วมกับความเชื่อส่วนบุคคล เช่น วัคซีนไม่ฮาลาล ส่งผลให้การเข้ารับวัคซีนยังน้อย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาโรงพยาบาลรือเสาะได้ประสานและดำเนินการงานด้านวัคซีนร่วมกับ อสม. เพื่อเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมาย ป้องกันผลให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพ และการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนตามมา
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญที่มีบทบาทในการช่วยเหลือทีมสุขภาพได้เล็งเห็นถึง
ความสำคัญและความจำเป็นในการให้เด็กได้วัคซีนตามเกณฑ์อายุ โดยเน้นความสำคัญของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้สนใจให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความสำคัญของวัคซีน และสร้างแกนนำภาคประชาชน เพื่อร่วมส่งเสริมและป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพทันท่วงที และต่อเนื่องนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการได้รับวัคซีน
|
0.00 | |
2 | 2. สร้างกลุ่มแกนนำภาคประชาชนในการส่งเสริมการได้รับวัคซีน
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 40,000.00 | 0 | 0.00 | 40,000.00 | |
30 เม.ย. 62 | “อบรมความรู้เกี่ยวกับความสำคัญในส่งเสริมการฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก 0-5 ปี” | 0 | 27,290.00 | - | - | ||
7 มิ.ย. 62 | “การจัดตั้งกลุ่มแกนนำภาคประชาชนในการส่งเสริมการได้รับวัคซีนสำหรับเด็ก 0-5 ปี” | 0 | 12,710.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 40,000.00 | 0 | 0.00 | 40,000.00 |
วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)
ขั้นเตรียมการ
1. สำรวจปัญหาและความต้องการในการจัดโครงการ
2. ประชุมร่วมกันระหว่าง อสม. เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ชุมชน และฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาล
รือเสาะ เพื่อรายงานสิ่งที่พบเจอและร่วมวางแผนการจัดโครงการเพื่อแก้ไข
3. เขียนและเสนอโครงการ
4. ประชุมคณะกรรมการ อสม. ร่วมกับประสานงานกับเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้แจงวางแผนและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในโครงการ
5. จัดเตรียมอุปกรณ์และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
6. ประชาสัมพันธ์โครงการโดย อสม.
7. จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
ขั้นดำเนินการ
วันที่ 6 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30-16.30 น.
1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
2. เปิดโครงการ
3. ประเมินก่อนเข้าร่วมโครงการ
4. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ประกอบด้วย แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์การส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี
และส่งตัวแทนนำเสนอ
5. อบรมความรู้เกี่ยวกับความสำคัญในส่งเสริมการฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก 0-5 ปี และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน (ทฤษฎี)
6. สาธิตและฝึกทักษะการดูแลหลังได้รับวัคซีนในเด็ก (ทฤษฎีและปฏิบัติ)
วันที่ 7 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30-16.30 น.
1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานสร้างแกนนำภาคประชาชน และจัดตั้งชมรม
2. ร่วมจัดตั้งกลุ่มแกนนำภาคประชาชนอย่างน้อย 1 กลุ่ม
3. สะท้อนคิดจากการเข้าร่วมโครงการ
4. ประเมินหลังเข้าร่วมโครงการ
5. สรุปโครงการและวางแผนพัฒนาเพื่อการจัดโครงการครั้งต่อไป
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี
- มีกลุ่มแกนนำภาคประชาชนในการร่วมดำเนินการงานด้านวัคซีน เพิ่มความเข้มแข็งในชุมชน
- ชุมชนไม่เกิดโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2562 15:12 น.