กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3009-01-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2562
งบประมาณ 13,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยาซิน สาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.8502078151918,101.31364409256place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อเม็ดเลือดแดงของคนเรามีหน้าที่นำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างต่างๆของร่างกาย เม็ดเลือดแดงจับกับออกซิเจนได้ด้วยสารตัวหนึ่งภายในเม็ดเลือดแดงที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินก็คือ ธาตุเหล็ก ดังนั้นจึงมีความเกี่ยวพันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การขาดธาตุเหล็กทำให้ฮีโมโกลบินต่ำ ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาณลดลง ทำให้ออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างต่างๆของร่างกายลดลง ส่งผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะ ภาวะโลหิตจาง คือการที่มีเม็ดเลือดแดงน้อย หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคซีด ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ที่ส่งผลกระทบต่อมารดาและทารก ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย และภาวะตกเลือดหลังคลอด สาเหตุภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การขาดสารอาหารจำพวกธาตุเหล็กและกรดโฟลิก การเสียเลือดจากการมีพยาธิปากขอ โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย รวมถึงการตกเลือดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางตลอดการตั้งครรภ์มีโอกาสคลอดทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง และเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อยคิดเป็น 1.29 เท่ากับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง ฉะนั้นการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องดำเนินการให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ ปี 2560 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จากการเจาะเลือดครั้งที่ 1 ร้อยละ 16.57 และภาวะโลหิตจางจากการเจาะเลือดครั้งที่ 3 ในหญิงหลังคลอด ร้อยละ 11.58 และในปี 2561 พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจากการเจาะเลือดครั้งที่ 1 ร้อยละ 7.98 และครั้งที่ 3 ร้อยละ 13.24   (สรุปรายงานประจำเดือนงานอนามัยแม่และเด็ก)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

พัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

0.00
2 เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จากการตรวจเลือดครั้งที่ 2 และ 3 ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (Hct > 33%)

ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จากการตรวจเลือดครั้งที่ 2 และ 3 ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
(Hct > 33%)

0.00
3 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และทารก

ลดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และทารก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,700.00 0 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้เสริมทักษะในโรงเรียนพ่อแม่ หญิงตั้งครรภ์ทุกรายและญาติ 0 10,000.00 -
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความ อสม. แกนนำ และสมาชิกชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว 0 3,700.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำแผนปฏิบัติการตามโครงการ 3. จัดทำโครงการเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขออนุมัติโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. ทบทวนและกำหนดแนวทางป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์โดยในรายที่มีปัญหาภาวะโลหิตจาง 2. ปรับระบบบริการตั้งแต่จุดคัดกรอง มีการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์และสามีเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยง ตรวจเลือด เพื่อป่องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ตรวจครรภ์โดยส่งเสริมให้สามีเข้าห้องตรวจพร้อมภรรยาเพื่อทราบความก้าวหน้าหรือภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยกันวางแผนการดูแลร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ สามี หญิงตั้งครรภ์ 3. ให้สุขศึกษารายบุคคล แนะนำการกินยาเสริมธาตุเหล็กแก่หญิงตั้งครรภ์ในรายที่มีปัญหาภาวะโลหิตจาง 4. ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง 5. ติดตามเจาะเลือดเพื่อดูความเข็มข้นของเม็ดเลือดแดงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ เพื่อป้องกันและติดตามภาวะโลหิตจาง(เฝ้าระวัง) 6. มีการส่งตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย 7. ติดตามเจาะเลือดเพื่อประเมินความก้าวหน้าทุกเดือน 8. จัดให้เข้าหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ โดยให้สามีเข้ามามีส่วนร่วม 9. จัดทำเอกสารแผ่นผับเรื่องภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 10. ให้วิตามินเสริมธาตุเหล็กโดยให้ อสม. เป็นผู้คอยดูแลให้หญิงตั้งครรภ์กินยาต่อเนื่องทุกวัน 11. ติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมอสม. แกนนำ สมาชิกชมรมสายใยรัก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ โดยมีสามี และญาติ ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม
  2. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลง (น้อยกว่าร้อยละ 10) และไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2562 10:50 น.