กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดหาเวชภัณฑ์เพื่อควบคุมโรคติดต่อจากยุงลายกรณีเร่งด่วน
รหัสโครงการ 62-L5290-5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลสาคร
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 21,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาด เตาวโต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ซึ่งนอกจากจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลแล้วยังเป็นโรคติดต่ออุบัติซ้ำ ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ในเขตตำบลสาคร พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกมากกว่า 40 คน ในครึ่งปีแรก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเข้าฤดูฝน ส่วนใหญ่จะพบในทุกกลุ่มวัย มีสาเหตุมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ขาดการจัดการและตระหนักของประชาชนในพื้นที่ โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค วิธีการติดต่อ ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ ระยะฟักตัว โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้ ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya
ซึ่งขณะนี้เกิดการระบาดของโรคชิกุนคุนย่าในอำเภอเมือง อำเภอละงู ซึ่งในเขตตำบลสาครพบผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งต้องได้รับการควบคุมอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการระบาดของโรค ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลสาคร เล็งเห็นถึงปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิกุนคุนย่าตำบลสาคร เพื่อป้องกันภัยก่อนเกิดโรคติดต่อ และควบคุมกรณีเกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

50.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 62 - 1 พ.ค. 62 จัดซื้อเวชภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับควบคุมและป้องกันโรคติดต่อจากยุงลาย 0 21,500.00 21,500.00
รวม 0 21,500.00 1 21,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ลดการระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 11:01 น.