โครงการผู้ป่วยเรื้อรัง รักฟัน รักยิ้ม
ชื่อโครงการ | โครงการผู้ป่วยเรื้อรัง รักฟัน รักยิ้ม |
รหัสโครงการ | 62-L5182-01-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.นาหว้า |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤษภาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,985.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนิรมล มุสิกรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.896,100.655place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2562 | 30 ก.ย. 2562 | 19,985.00 | |||
รวมงบประมาณ | 19,985.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 126 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่บั่นทอน คุณภาพชีวิตและคร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดโรคหนึ่งและมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) พบว่า มีผู้เป็นเบาหวานแล้ว 2580 ล้านคนและได้ประมาณการว่าจะมีจำนวนผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มมากกว่า 366 ล้านคน ในปี ค.ศ.2020 หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมและจริงจัง นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกได้สำรวจการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและผลกระทบใน 23 ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและพบว่าในปี ค.ศ.2005 กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังและโรคเบาหวานเป็นสาเหตุการเสียชีวิต มากกว่าร้อยละ 60 ของการเสียชีวิตทั้งหมดหรือประมาณ 35 ล้านคน โดยการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 32 และคาดว่าในปี ค.ศ.2015 จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17 หรือประมาณ 41 ล้านคน สำหรับประเทศไทย พบว่าตั้งแต่ปี ค.ศ.1988 - 1998 สถิติของการเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานคงที่ แต่อัตราผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคเบาหวานทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง จากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายจอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคไต รวมถึงแผลบริเวณเท้าที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานแล้วยากต่อการดูแลรักษา มีผลการวิจัยที่รายงานว่าผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองสูงเป็น 2 ถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ นอกจากนี้ก็ยังพบภาวะแทรกซ้อนในช่องปากโดยพบว่าโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคในช่องปาก ทั้งโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ มีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเบาหวานกับโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ 5 - 7 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างเบาหวานกับการเกิดโรคฟันผุ Twetman และคณะในปี ค.ศ.2002 ได้ศึกษาอุบัติการณ์ของโรคฟันผุในผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมน้ำตาลและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มอายุ 8 - 15 ปี ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมานาน อย่างน้อย 3 ปี จำนวน 64 คน พบว่าผู้่ป่วยเบาหวานที่มีการควบคุมที่ไม่ดี (glycosykated hemoglobin หรือ HbA1c มากกว่าร้อยละ8) มีระดับน้ำตาลในน้ำลายสูงกว่า (p < 0.05) และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุสูงกว่า (p < 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ควบคุมเบาหวานได้ดี ความสัมพันธ์ระหว่างเบาหวานกับโรคในช่องปากโดยเฉพาะโรคปริทันต์อักเสบนั้นก่อให้เกิดผลเสียงตามมานั่นคือการสูญเสียฟันไปในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษาและควบคุมอย่างเหมาะสม โดยพบว่ามีความชุกของการสูญเสียฟันในคนที่เป็นเบาหวานมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรค เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และมีแนวโน้มของการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น การจัดการโรคจึงเน้นที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะใกล้เคียงกับระดับน้ำตาลปกติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมา ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดความผิดปกติทั้งภาวะแทรกซ้อนทางตา ภาวะแทรกซ้อนทางไต รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพช่องปากด้วย จากการศึกษาพบว่าโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคในช่องปาก ทั้งโรคปริทันต์อักเสบ โรคเหงือกอักเสบ และโรคของเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก และผลที่ตามมาคือการสูญเสียฟัน ความชุกและความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพช่องปากอาจขึ้นอยู่กับการควบคุมระดับน้ำตาลและชนิดของโรคเบาหวานและพฤติกรรมของผู้ป่วยด้วย การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองได้เพื่อลดการสูญเสียฟันที่จะเกิดขึ้น บทความนี้ได้ทำการทบทวนเกี่ยวกับโรคเบาหวานและการเกิดโรคในช่องปาก ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบ โรคฟันผุ การติดเชื้อราในช่องปาก ภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาและการสูญเสียฟันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า ให้ความสำคัญของทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น และเป็นการส่งเสริม ป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนมาประยุกต์ใช้ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มผู้ป่วยเรื้องรังมีสุขภาวะที่ดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้าจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เรื่องผลของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงต่อการเกิดโรคในช่องปาก ฟันผุ โรคเหงือกและปริทันต์อักเสบ
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาปัญหาสุขภาพช่องปาก
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
24 ก.ย. 62 | ผู้ป่วยเรื้อรัง รักฟัน รักยิ้ม | 126 | 19,985.00 | ✔ | 19,985.00 | |
รวม | 126 | 19,985.00 | 1 | 19,985.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินงาน ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน 2. รวบรวมข้อมูลรายชื่อผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า 3. จัดทำทะเบียนรายชื่อทั้งหมดที่เข้าร่วมกิจกรรมง 4. ประชุมชี้แจงคณะทำงานแลวางแผนการดำเนินงาน 5. แจ้งตารางนัดหมายการจัดกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายทราบ 6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ สื่อสาธิต ในการอบรมแก่กลุ่มเป้าหมาย 7. จัดเตรียมสถานที่ 8. จัดเตรียมแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ขั้นดำเนินการ 1. สัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก 2. บันทึกการตรวจช่องปาก 3. จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ป่วยเรื่องผลของโรคเบาหวานที่มีผลต่อการเกิดโรคในช่องปาก ทั้งโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ รวมถึงให้ความรู้เรื่องการทำความสะอาดช่องปากที่เหมาะสม โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 หมู่ที่ 1,2,3,4 และรุ่นที่ 2 หมู่ที่ 5,6,7,12 4. สาธิตและฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากที่เหมาะสม 5. การทำน้ำยาบ้วนปากสมุนไพรด้วยมือเรา
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่เพิ่มมากขึ้น
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยเครือข่ายสุขภาพอำเภอจะนะ
- เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการอบรมสามารถทำน้ำยาบ้วนปากจากสมุนไพรได้ด้วยตนเอง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 11:41 น.