กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดเเมลงในตำบลพนางตุง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L3323-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 21,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณยศ ร่มหมุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (21,450.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการเกษตรทำให้มีการผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใช่อย่างเเพร่หลาย จะเห็นได้ว่าปริมาณเเละชนิดของสารเคมีที่นำมาใช้ในทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากโดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการนำวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวโดยในปี พ.ศ. 2548 มีการใช้สารเคมีปริมาณ 75,473,033.10 กิโลกรัม คิดมูลค่าเป็นเงิน 10,530,700,642.23 บาทเเละเพิ่มขึ้นเป็น 160,824,163.48 กิโลกรัม ในปี พ.ศ. 2559 คิดเป็นมูลค่าเป็นเงิน 20,617,705,56.70 บาท ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งมนุษย์เเเละสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธ์ เเละตา ซึ่งก็ขึ้นอยู้ว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดเเละปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่เเล้วการที่อวัยวะในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงเเสดงอาการต่างๆ ออกมาเช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดเเละระบบภภูมิคุ้มกันเป็นต้น เเละจากสถิติจากสำนักโรคประกอบอาชีพเเละสิ่งเเวดล้อม ระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2557 พบว่า มีผู้ป่วยจากโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชเป็น 3,753, 7,806, 7,506, เเละ 7,954 คนต่อปี โดยคิดเป็นอัตราป่วย 5.86, 12.11,11.59 เเละ 12.21 ต่อเเสนประชากรตามลำดับสะท้อนให้เห็นว่า เเนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากพิษสารเคมีกำจัดดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นเช่นกัน ตำบลพนางตุง เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย การทำนาปี ทำสวนยางพารา พืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมเเละกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายเเละขยายเป็นวงกว้าง ยังอยู่ในระดับที่รุนเเรง เเละสูง ในปีงบประมาณ 2561 จากการเจาะเลือดเกษตรกรจำนวน 330 คนโดยใช้กระดาษ Reactive paper พบว่า ปกติร้อยละ 24.85 ปลอดภัย ร้อยละ 32.12 มีความเสี่ยง ร้อยละ 25.15 ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 17.88 มีการศึกษาอันตรายจากสารเคีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวางเเละพบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้สามารถถูกสะสมในร่างมนุษย์ได้เป็นเวลานาน ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การดูดซึมทางผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และการรับประทาน จากข้อมูลข้างต้นเป็นที่ น่าเป็นห่วงทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีความเสี่ยงจะได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมีกําจัดศัตรูพืชในผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้น ทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลพนางตุงร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตําบลพนางตุง ได้เล็งเห็นความสําคัญ ของสุขภาพของผู้สัมผัสสารเคมีกําจัดแมลงในพื้นที่ตําบลพนางตุง(หมู่ที่ 5 - 12 ตําบลพนางตุง) จึงได้จัดทําโครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัส สารเคมีกําจัดแมลง ในตําบลพนางตุง ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อให้ผู้สัมผัสและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ สุขภาพและเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อเฝ้าระวังและรักษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมีในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป

1.เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดร้อยละ 30

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตรที่ถูกต้อง และปลอดภัย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 1. เตรียมข้อมูลสถานะสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายในการ คัดกรอง เอกสารการที่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไป 0 0.00 -
1 พ.ค. 62 2. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบ พร้อมนัด วัน เวลาและสถานที่ในการตรวจหาสารเคมีกําจัด ศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสี่ยง 0 0.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 มิ.ย. 62 4. ดําเนินการตรวจหาสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างใน กลุ่มเสียง 0 0.00 -
2 พ.ค. 62 3. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส 0 0.00 -
1 มิ.ย. 62 5. จําแนกประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมี ในเลือด ออกเป็น 4 ระดับประกอบด้วย ระดับไม่ปลอดภัย ระดับเสียง ระดับปลอดภัย ระดับ ปกติ 0 0.00 -
1 มิ.ย. 62 - 31 ก.ค. 62 6. แจ้งผลการตรวจหาสารเคมีในเลือด ให้คําแนะนํา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกร การเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ การล้างผักและ ผลไม้สดอย่างถูกวิธี 0 0.00 -
1 ก.ค. 62 7. ประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ระดับไม่ปลอดภัยและเสียง แนะนําเข้าสู่กระบวนการ ขับสารพิษ คือการรับประทานชาซงรางจืด 0 0.00 -
1 ก.ค. 62 8. ประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยง ได้รับการตรวจหาสารเคมี กําจัดศัตรูพืชตกค้างซ้ำ 0 0.00 -
1 ก.ค. 62 9.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 0 0.00 -
  1. เตรียมข้อมูลสถานะสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายในการคัดกรอง เกษตรกรที่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและประชาชนกลุ่มเสียง อายุ 35 ปี ขึ้นไป
  2. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบ พร้อมนัด วัน เวลาและสถานที่ในการตรวจหาสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสียง
  3. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอ็นไซม์ โคลีนเอสเตอเรส
  4. ดําเนินการตรวจหาสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสี่ยง
  5. จําแนกประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ออกเป็น 4 ระดับประกอบด้วย ระดับไม่ปลอดภัย ระดับเสียง ระดับปลอดภัย ระดับปกติ
  6. แจ้งผลการตรวจหาสารเคมีในเลือด ให้คําแนะนําปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกร การเลือกบริโภคผักปลอด สารพิษ การล้างผักและผลไม้สดอย่างถูกวิธี
  7. ประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ระดับไม่ปลอดภัยและเสียง แนะนําเข้าสู่กระบวนการขับสารพิษ คือการ รับประทานชาชงรางจืด
  8. ติดตามและประเมินผลการดําเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติเเละปลอดภัย 2 เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 13:55 น.