กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดพุง ลดโรค ( DPAC 62) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 62-L3323-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววิลาวัลย์ นุ่นทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทําโครงการ)ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญซึ่งต้อง เร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนําไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบจาก ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ข้อเข่าเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวานไขมันในเลือดสูงมะเร็งลําไส้โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง 20 - 74 ปีกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งมีผลมาจาก ความอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ 17 ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าในปีพ.ศ. 2565 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ๒๕ล้านคนปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ๒-๘ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่ เป็นผลกระทบจากโรคอ้วนถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจํานวนมาก จากการสํารวจสุขภาพ ประชากรไทยปีล่าสุด พ.ศ.2547 พบว่า ประชากรในประเทศไทยที่อายุมากกว่า 35 ปี มีเส้นรอบพุ่งเกินกําหนดประมาณ 9.3 ล้านคน โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คือ เพศหญิงอ้วนลงพุง 52% ผู้ชาย 22% คนที่มีรอบเอวเพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตร จะมีโอกาสเป็น โรคเบาหวานเพิ่ม 3-5 เท่า จะเห็นได้ว่าเอวใหญ่ขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเจ็บป่วยและตายเร็วขึ้นเท่านั้น จากการสํารวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชน ของกรมอนามัย ปี 2550 พบว่าคนไทยอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละร้อยละ 24 และเพศหญิงร้อยละ 60 โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชาย ถึง 2.5 เท่าตัว ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกําลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทําให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็งจากการคัดกรอง ภาวะสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลพนางตุง ปีงบประมาณ 2561 พบว่ามีค่า ดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานร้อยละ 19.42 มีภาวะโรคอ้วนร้อยละ 20.18 และมีภาวะอ้วนรุนแรง ร้อยละ 6.80 มีรอบเอวเกินมาตรฐาน สูงถึงร้อยละ 32.73 (จากระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561) ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลพนางตุง จึงจัดทําโครงการลดพุงลดโรค( DPAC 62) เพื่อดําเนินงานคลินิกDPAC และให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกําลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสําคัญการส่งเสริมสุขภาพ และทํากิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลพนางตุง มีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบภาวะสุขภาพของตนเองได้

ข้อที่ 1 กลุ่มเป้าหมายทราบภาวะสุขภาพของตนเองร้อยละ 100

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องอาหารและการออก กําลังกายที่ถูกต้อง

ข้อที่ 2 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องอาหารและการออกกําลังกายที่ ถูกต้อง ร้อยละ 100

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภค อาหารการออกกําลังกายให้สามารถลดรอบเอว ดัชนีมวลกาย ลดภาวะความดันโลหิตสูง และลดระดับน้ําตาลในเลือดลงได้

ข้อที่ 3 กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อาหาร การออกกําลังกาย ให้สามารถลดรอบเอว ดัชนีมวลกาย ลดภาวะความดันโลหิตสูง และลดระดับน้ําตาลในเลือดลงได้ ร้อยละ 60

0.00
4 ข้อที่ 4 ดําเนินงานคลินิก DPAC ในสถานบริการ

ข้อที่ 4 มีการดําเนินกิจกรรมในคลินิก DPACในสถานบริการอย่าง ต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
1 ธ.ค. 61 1.เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการ ดําเนินงาน 0 0.00 -
1 พ.ค. 62 2. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ผู้นําชุมชน อสม. อบต. แกนนํา ครอบครัว 0 0.00 -
1 พ.ค. 62 3. นัดหมายกลุ่มเป้าหมายเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดกิจกรรม 0 0.00 -
1 พ.ค. 62 4. ติดตั้งเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ในคลินิก DPAC 0 30,000.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 5. กลุ่มเป้าหมายจัดกิจกรรมทุกวันพฤหัสบดี 0 0.00 -
1 ส.ค. 62 6. ติดตามและประเมินผล 0 0.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินงาน
2. ขั้นดําเนินการ 2.1 จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ผู้นําชุมชน อสม. อบต. แกนนําครอบครัว
2.2 นัดหมายกลุ่มเป้าหมายเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดกิจกรรม 2.3 กลุ่มเป้าหมายจัดกิจกรรมทุกวันพฤหัสบดี
3. ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละของจํานวนผู้เข้าโปรแกรม ปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีรอบเอว ดัชนีมวลกาย ค่าความดันโลหิต ค่าระดับน้ําตาลในกระแสเลือด ลดลง
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ขยายผลสู่ครอบครัว ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 14:57 น.