กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานหมู่ที่ 1,2,3,4,13 ตำบลพนางตุงประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3323-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปัทมพร ทองเกลี้ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื่องรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกเเละอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้อเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ การรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะและความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงานสมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคตลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพทั้วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข จากข้อมูลอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปี ๒๕๖๑ พบว่ากลุ่มป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบในหมู่ ๑,๒,๓,๔,๑๓ ตำบลพนางตุง ทั้งหมด ๒๓๐ รายควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี จำนวน ๖๑ ราย และผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานโดยการในความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรครวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓ อ. ๒ ส. อย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๑๓ ตำบลพนางตุง ประจำปี ๒๕ต๒ ขึ้น โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

๑. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง(Pretest/Posttest)มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐

0.00
2 ๒. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกัน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน

๒. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐

0.00
3 ๓. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต ไม่เกินระดับ ๓

๓. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการค่า eGfR >= ๔๔

0.00
4 ๔. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีผลการตรวจเท้าปกติ

๔.ไม่พบแผลเรื้อรังบริเวณเท้า

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 150.00 0 0.00
2 พ.ค. 62 ๑.เพื่อให้ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวาน มีความรู้ในการดูแลตนเองได้ อย่างถูกต้อง 0 0.00 -
2 พ.ค. 62 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ําตาลไม่ได้ 0 รายในเขตรับผิดชอบหมู่ที่๑,๒,๓,๔,๑๓ ตําบลพนางตุง ๑.๑ อบรมให้ความรู้เรื่อง โภชนาการ ออกกําลังกาย สุขภาพจิต การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๑.๒ อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน เรื่องภาวะแทรกซ้อ 0 0.00 -
2 พ.ค. 62 ๒. ประเมินความรู้และพฤติกรรมผู้เข้าร่วมโครงการ 0 150.00 -
2 พ.ค. 62 ๓. ตรวจภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้าผู้ป่วยเบาหวานที่คุมน้ําตาล ไม่ได้ 0 0.00 -

ผลการดําเนินงานแก่เจ้าของงบประมาณ/สรุปโครงการ ๑. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ ทีมงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
๒. สํารวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบของรพสต.ทะเลน้อย
๓. จัดทําโครงการ เสนอผู้มีอํานาจลงนาม
๔. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่แกนนํา ผู้ป่วยเบาหวาน
๕. จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน
๖. ประเมินผลโครงการดังนี้ ๖.๑ ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องการดูแลสุขภาพด้านการออกกําลังกาย การบริโภคอาหาร และสุขภาพจิตก่อนและหลังอบรมเกณฑ์ผู้ป่วยเบาหวาน ๓๐ ราย ๖.๒ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ การออกกําลังกายผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือด ๓๐ ราย ๖.๓ ประเมินดัชนีมวลกายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการรายบุคคล ๖.๔ ประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ไต ไขมัน ๖.๕ ตรวจสุขภาพเท้า ช่องปาก
๗. ติดตามผล น้ําตาลเฉลี่ยสะสม (HbAC) หลังเข้าร่วม จากผลการตรวจเลือดชุดใหญ่ประจําปี
๘. ติดตามผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า จากการติดตามการคัดกรอง คัดกรอง ตา ไต เท้า
๙. รายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ระดับความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐
๒. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐
๓. ประชากรกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ ๓
๔. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA๑c ได้น้อยกว่า ๘

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 15:19 น.