กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขอนามัยเด็กวัยเรียนด้วยสมุนไพรกำจัดเหา
รหัสโครงการ 62-L1513-01-011
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลควนเมา
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2019 - 30 สิงหาคม 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2019
งบประมาณ 21,135.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอมอร แสนดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.938,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 199 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหา เป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากความไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอนเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไปและยังทำให้สุขภาพไม่ดี เสียสมาธิในการ เรียน ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น เนื่องจากคันหนังศีรษะ จากการตรวจสุขภาพเด็กวัยเรียนประจำปี 2560 ในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรง คือ โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่ โรงเรียนบ้านหนองมวง โรงเรียนบ้านทุ่งสมอ และโรงเรียนวัดควนเมา พบว่ามีเด็กนักเรียนหญิงที่เป็นเหา จำนวนทั้งสิ้น 183 คน จากเด็กนักเรียนหญิงทั้งหมด 199 คน       ด้วยเหตุนี้กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลควนเมา จึงได้จัดทำศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าสมุนไพรที่สามารถกำจัดเหาได้ดีมาก ได้แก่ ใบน้อยหน่า ขิง ลูกมะกรูด เป็นต้น โดยไม่เป็นอันตรายและไม่มีอาการแพ้เหมือนใช้สารเคมีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ มาใช้ในการกำจัดเหา และอีกทั้งเป็นการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาและสมุนไพรท้องถิ่น ในการรักษาเด็กที่เป็นเหาและป้องกันโรคเหาลดการระบาดต่อไป กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลควนเมา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กวัยเรียนด้วยสมุนไพรกำจัดเหา เพื่อส่งเสริมสุขภาพสุขอนามัยในเด็กนักเรียนหญิงในโรงเรียน ลดการแพร่กระจายของการเกิดเหาในกลุ่มเด็กวัยเรียน และเพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาและสมุนไพรในท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยในเด็กนักเรียนหญิงในโรงเรียน ลดการแพร่กระจายของการเกิดเหาในกลุ่มเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 80 ของนักเรียนหญิงมีสุขอนามัยดีขึ้น ไม่เป็นเหา

80.00
2 เพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาและสมุนไพรในท้องถิ่น ในการกำจัดเหา

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความรู้ในการนำสมุนไพรไปใช้ในการกำจัดเหา

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 398 21,135.00 0 0.00
4 มิ.ย. 62 - 30 ส.ค. 62 ส่งเสริมการูแลสุขอนามัยในเด็กนักเรียนเพื่อป้องกันการเกิดเหา 199 19,935.00 -
11 มิ.ย. 62 ประชุมให้ความรู้ 199 1,200.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ     1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน     1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ     1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ     2.1 การสำรวจข้อมูล สถานการณ์ เพื่อการดำเนินงาน     2.2 การสำรวจนักเรียนหญิงในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ     2.3 ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงาน ให้แก่โรงเรียนแต่ละโรงเรียน 4 โรง
        2.4 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสุขอนามัยให้นักเรียนหญิงจาก 4 โรงเรียน     2.5 จัดเตรียมยาสมุนไพรหมักเหา     2.6 หมักเหาให้กับนักเรียนหญิงทุกคน
    . ขั้นสรุปโครงการ     ๓.๑ สรุปผลโครงการ     ๓.๒ จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนหญิงมีสุขอนามัยที่ดี
  2. นักเรียนหญิงร้อยละ 80 ไม่เป็นเหา
  3. มีการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2019 11:02 น.