กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กท่าแค ใส่ใจฟันดี ไม่มีผุ
รหัสโครงการ 62-L3354-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไพ
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอุไร นิลจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.545,100.05place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญและก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ร่วมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถป้องกัน และลดความรุนแรงของโรคได้ เด็กช่วง 6-12ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากสูง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพช่องปากหลายๆด้าน การตรวจสภาวะช่องปากอย่างสม่ำเสมอและการได้รับบริการทันตกรรมทั่วถึงและรวดเร็ว ตลอดจนการส่งเสริมและติดตามพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพจึงสำคัญอย่างยิ่ง จากรายงานผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 6-12 ปี ในเขตตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลึง ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไพ ปี 2561 พบว่าเด็กนักเรียนที่ได้รับการตรวจช่องปากทั้งหมด 775 คน ปราจากโรคฟันผุ 368 คน คิดเป็นร้อยละ 47.0 ซึ่งมีอัตราปราศจากฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น แต่ยังคงพบเด็กนักเรียนที่มีฟันแท้ผุ 305 คน คิดเป็นร้อยละ 39.35 เฉลี่ย 4 ซี่/คน และยังไม่มารับบริการทางทันตกรรม ในส่วนของเด็กนักเรียนที่ได้รับการตรวจและมีปัญหาสุขภาพช่องปากมารับบริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไพคิดเป็น ร้อยละ ๒๓ ชี้ให้เห็นว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลท่าแคยังขาดความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร เช่น การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษาอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี ให้บริการทันตกรรมอย่างทั่วถึงและรวดเร็วและมีการติดตามประเมินผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไพ จึงจัดทำโครงการขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กประถมศึกษาในเขตตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ได้รับบริการทางทันตกรรมเพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งได้ฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่างปาก เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุและการมีสุขภาพช่องปากที่ดีแบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลท่าแค ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและสามารถตรวจสุขภาพช่องปากได้ด้วยตนเอง

เด็กนักเรียนประถมศึกษาได้รับการตรวจช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลท่าแค ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง

เด็กนักเรียนประถมศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการบริการทันตกรรมร้อยละ 80

0.00
3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลท่าแค ที่มีปัญหาสุขภาพชองปากได้รับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง

เด็กนักเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 21,900.00 4 21,900.00
25 มิ.ย. 62 อบรมให้ความรู้ 21 2,955.00 2,955.00
26 มิ.ย. 62 อบรมให้ความรู้ 32 2,960.00 2,960.00
27 มิ.ย. 62 อบรมให้ความรู้ 78 5,490.00 5,490.00
28 มิ.ย. 62 อบรมให้ความรู้ 169 10,495.00 10,495.00

ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำแผนและขออนุมัติดำเนินโครงการ 2. วางแผนการปฏิบัติงาน,ประสานงานผู้เกี่ยงข้อง 3. เตรียมข้อมูล เอกสาร และวะสดุอุปกรณ์ ขั้นดำเนินงาน 1.ทดสอบก่อนทำกิจกรรม 2. จัดกิจกรรมให้ความรู้โดยแบ่งเป็น 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ ๑ โรคฟันผุ ฐานที่ ๒ การเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพช่องปาก ฐานที่ ๓ การตรวจฟันด้วยตนเองและการแปรงฟันที่ถูกวิธี 3. ทดสอบหลังทำกิจกรรม 4. ออกตรวจสภาวะช่องปากนักเรียนชั้นประถมศึกษา 5. นัดนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากเข้ารับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง 6. ติดตามกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน 7. สรุปผลดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลท่าแค ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลท่าแค ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง
  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลท่าแค แปรงฟันหลังอาหารกลางวัยและสามารถตรวจฟันได้ด้วยตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2562 14:01 น.