กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กสร้างสายสัมพันธ์แม่ลูก
รหัสโครงการ 60-L4150-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2560 - 26 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.วิลดาดือราซอลีมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 175 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ยังส่งผลต่อสุขภาพมารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์และอาจส่งผลในระยะคลอดได้ สถานการณ์สุขภาพของแม่และเด็กอำเภอยะหา จังหวัดยะลาปี 2558 – 2560(ตค-กพ) มีรายงานการตายของมารดาปี 2558 จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราส่วน 111.48 ต่อแสนการเกิดมีชีพ สาเหตุจาก Uterine ruptureปี 2559 จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราส่วน 369ต่อแสนการเกิดมีชีพ สาเหตุจาก รายที่1 Anaphylactic shock R/O Amniotic embolism มีสาเหตุร่วม PPH รายที่ 2 septic shock หลังผ่าตัด อัตราทารกตายปริกำเนิด 12.14 , 8.46, 4.18 ต่อพันการเกิดสาเหตุจาก สำลักน้ำคร่ำ คลอดก่อนกำหนด อัตราทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 7.36,8.08, 2.08 สาเหตุจาก คลอดก่อนกำหนด ครรภ์แฝดอัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางขณะใกล้คลอด ร้อยละ 18.10, 21.56 21.39 เนื่องจากสาเหตุ ไม่รับประทานยาต่อเนื่อง จาก อาการข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน ลืมรับประทานยา ผล OF DCIP Positive ฝากครรภ์ช้า เกิน 26 wksตามลำดับ ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก จำเป็นจะต้องดำเนินการในหลายด้านไปพร้อมกันทั้งส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลมารดา ตั้งแต่ มารดาตั้งครรภ์คลอดหลังคลอดให้มีภาวะโภชนาการที่ดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนให้เหมาะสม โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ดังนั้น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก สร้างสายสัมพันธ์แม่ลูก โดยชุมชนมีส่วน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริการสุขภาพงานอนามัยแม่และเด็กอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพระดับชุมชน เน้นให้มีการสร้างเสริมสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักดี พัฒนาการสมวัยมีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 2. เพื่อส่งเสริมการบริการสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธ์ที่สงสัยตั้งครรภ์ ให้ได้รับบริการฝากครรภ์เร็วที่สุด ก่อน 12 สัปดาห์ 3.เพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินงานแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ในพื้นที่รับผิดชอบ
  1. อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60 หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 61 คน มีการฝากครรภ์ครั้งแรกในอายุครรภ์ก่อน/เท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60 คิดเป็นจำนวน 37 คน
  2. อัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65 หญิงคลอด จำนวน 35 คน มีการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 65 คิดเป็น จำนวน23 คน
  3. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดไม่เกินร้อยละ10
    หญิงคลอด จำนวน 35 คนมีภาวะโลหิตจางใกล้คลอดไม่เกินร้อยละ 10 คิดเป็นจำนวนไม่เกิน 4 คน
  4. เยี่ยมมารดาทารกหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65 มารดาหลังคลอด 6 สัปดาห์ จำนวน 40 คน มีมารดาทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65 คิดเป็น จำนวน 26 คน
  5. ร้อยละของเด็กตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 6 เดือน แรก มีค่าเฉลี่ยกินนมแม่อย่างเดียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เด็กทารกแรกเกิดถึง6 เดือนจำนวน 86 คน กินนมแม่อย่างเดียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 คิดเป็น จำนวน 43 คน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด 4. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย 5. จัดเตรียมวัสดุ ตามโครงการ 6. จัดทำเอกสารแผ่นพับ บทความเสียงตามสาย สื่อรณรงค์ ส่งเสริมการตั้งครรภ์คุณภาพและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 7. แจ้ง – ประสาน อสม. ประชาสัมพันธ์ กำหนดการดำเนินงาน ในชุมชน ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน คืนข้อมูลสู่ชุมชน ร่วมกันแก้ไขปัญหาโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ - ประชุมชี้แจงกิจกรรมการดำเนินงานสู่ชุมชน คืนข้อมูล ผลลัพธ์ด้านสุขภาพและร่วมแก้ไขปัญหา กิจกรรมที่ 2จัดกิจกรรมรณรงค์ รักเรา.....ไม่จืดจาง (แก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์) เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์โดยผู้ดูแลในครอบครัว - ชี้แจงกิจกรรม ให้ความรู้เรื่องโลหิตจางและภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดแก่ผู้ดูและและหญิงตั้งครรภ์
- จัดทำสื่อรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ - รณรงค์ทางเสียงตามสายโดยผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง - จัดทำ คู่มือติดตามการกินยาเสริมธาตุเหล็ก โดยผู้ดูแลในครอบครัว - จัดทำ ดีวีทัศน์ รณรงค์แก้ไขภาวะโลหิตจาง กิจกรรมที่ 3 พัฒนาระบบโรงเรียนพ่อแม่เพื่อหญิงตั้งครรภ์คุณภาพ - ประชุมเจ้าหน้าที่และสมาชิก อสม.แม่อาสา เพื่อร่วมจัดทำคู่มือโรงเรียนพ่อแม่ - จัดทำคู่มือโรงเรียนพ่อแม่ - ปรับปรุงห้องโรงเรียนพ่อแม่ ตั้งฉากกั้นห้องเป็นสัดส่วน - ให้บริการโรงเรียนพ่อแม่ อบรมหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เพื่อให้ได้รับการส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และเฝ้าระวังภาวะเสี่ยง ทุกวัน พฤหัส สัปดาห์ที่ 2 และ สัปดาห์ที่ 4 - จัดทำบอร์ดความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่ - จัดทำแบบทดสอบ ก่อน-หลัง อบรม กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งชมรม “นมแม่” รณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามบริบทชุมชน - จัดตั้งคณะกรรมการชมรม - ค้นหา และอบรมพัฒนาศักยภาพปราชญ์นมแม่ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเลี้ยงลูกด้วยแม่ - รับสมัครสมาชิกชมรม หญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด
- ประชุมและอบรมพัฒนาสมาชิกชมรม ปีละ 2 ครั้ง - สนับสนุนชุดสาธิตการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับปราชญ์นมแม่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ความตระหนักในการดูแลตนเอง สามารถเฝ้าระวังภาวะเสี่ยง มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย
  2. สถาบันครอบครัวเข้มแข็งสามารถดูแลลูกอย่างมีคุณภาพตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่นให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลง 3.บุคลากรผู้ให้บริการงานด้านอนามัยแม่และเด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะความสามารถ ให้สามารถจัดบริการให้ได้มาตรฐานโรงพยาบาล
  3. อสม.ในพื้นที่และมีความใกล้ชิดกับประชาชน มีความรู้ และสามารถให้คำแนะนำการดูแลตนเองเบื้องต้นให้กับประชาชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2560 15:02 น.