กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1  จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน คืนข้อมูลสู่ชุมชน ร่วมกันแก้ไขปัญหาโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ จัดเวทีประชาคม ค้นหาปัญหา 1. กินยาแล้วมีอาการคลื่นไส้ 2. เริ่มกินยาบำรุงเลือดช้า หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ช้า ไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์
3. โภชนาการอาหาร 4. ลืมกินยา แนวทางแก้ปัญหา 1.ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการกินยา 2.ให้สามีคอยดูแล ซักถามการกินยา เพื่อป้องกันการลืมกินยา 3.รณรงค์เสียงตามสายในมัสยิด กิจกรรมที่ 2  จัดกิจกรรมรณรงค์ รักเรา.....ไม่จืดจาง (แก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์) เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์โดยผู้ดูแลในครอบครัว - ประชาชนทุกกลุ่มวัยโดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ และหฺลังคลอดตระหนักเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจาง ที่จะส่งผลต่อบุตร และการคลอด - จัดทำสื่อรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
สรุปผลคะแนน ร้อยละของผู้เข้าอบรมได้คะแนนก่อน คะแนน 5, 4, 3 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.66, 30.33 และ 23.30 ตามลำดับ คะแนนหลังรณรงค์ คะแนน 5, 4, 3 คิดเป็นร้อยละ 93.33, 6.66 และ 0 ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีคะแนนดีขึ้นมากกว่าหลังจากรณรงค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมที่ 3 พัฒนาระบบโรงเรียนพ่อแม่เพื่อหญิงตั้งครรภ์คุณภาพ - เจ้าหน้าที่และสมาชิก อสม.แม่อาสา จัดทำคู่มือโรงเรียนพ่อแม่ มีคู่มือโรงเรียนพ่อแม่หลักสูตร 1 และ หลักสูตร 2 ตามมาตรฐานงานฝากครรภ์ มีห้องโรงเรียนพ่อแม่เป็นสัดส่วน
- ให้บริการโรงเรียนพ่อแม่ อบรมหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เพื่อให้ได้รับการส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และเฝ้าระวังภาวะเสี่ยง ทุกวัน พฤหัส สัปดาห์ที่ 2 และ สัปดาห์ที่ 4 กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งชมรม “นมแม่” รณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามบริบทชุมชน ตำบลยะหาเกิดชมรมแม่อาสาที่ชัดเจน มีการจัดตั้งกรรมการชมรม โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นประธานอำนวยการ และ นางสาวมีเนาะ พุ่มพ์ทอง เป็นประธานชมรมแม่อาสา ปัญหา/อุปสรรค
- ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่มีความสะดวกในการเดินทางเข้าอบรม - วัฒนธรรมความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี       แนวทางการแก้ไข
- การจัดอบรมในพื้นที่ศูนย์กลางชุมชน ในมัสยิด หรือ สถานที่พบปะชุมชน - การให้ข้อมูลที่เห็นชัดเจน มีผู้นำให้คำปรึกษาสุขภาพ - ชี้ให้เห็นถึงกระทบของภาวะโลหิตจางในทุกกลุ่มวัย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักดี พัฒนาการสมวัยมีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 2. เพื่อส่งเสริมการบริการสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธ์ที่สงสัยตั้งครรภ์ ให้ได้รับบริการฝากครรภ์เร็วที่สุด ก่อน 12 สัปดาห์ 3.เพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินงานแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ในพื้นที่รับผิดชอบ
ตัวชี้วัด : 1. อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60 หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 61 คน มีการฝากครรภ์ครั้งแรกในอายุครรภ์ก่อน/เท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60 คิดเป็นจำนวน 37 คน 2. อัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65 หญิงคลอด จำนวน 35 คน มีการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 65 คิดเป็น จำนวน23 คน 3. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดไม่เกินร้อยละ10 หญิงคลอด จำนวน 35 คนมีภาวะโลหิตจางใกล้คลอดไม่เกินร้อยละ 10 คิดเป็นจำนวนไม่เกิน 4 คน 4. เยี่ยมมารดาทารกหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65 มารดาหลังคลอด 6 สัปดาห์ จำนวน 40 คน มีมารดาทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65 คิดเป็น จำนวน 26 คน 5. ร้อยละของเด็กตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 6 เดือน แรก มีค่าเฉลี่ยกินนมแม่อย่างเดียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เด็กทารกแรกเกิดถึง6 เดือนจำนวน 86 คน กินนมแม่อย่างเดียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 คิดเป็น จำนวน 43 คน

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 175
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 175
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักดี พัฒนาการสมวัยมีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
2. เพื่อส่งเสริมการบริการสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธ์ที่สงสัยตั้งครรภ์ ให้ได้รับบริการฝากครรภ์เร็วที่สุด ก่อน 12 สัปดาห์ 3.เพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินงานแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ในพื้นที่รับผิดชอบ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh