กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน ปีงบประมาณ 2562 (10/2562)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปากพะยูน
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 39,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจันทรา ทองอยู่คง
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่สะสมมาเป็นเวลานาน เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย รัฐบาลแบกภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างมหาศาลในแต่ละปีประกอบกับสังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คมมีอายุยืนยาวขึ้น โอกาสที่จะเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนและติดเตียงย่อมมีสูงขี้น โรงพยาบาลปากพะยูน ให้บริการประชาชนในชุมนเทบาลอ่าวพะยูน พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมาก 372 คน คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 29.03 (เกณฑ์ร้อยละ 50 ) โดยวัดจากค่าน้ำตาลที่เกาะบนเม็ดเลือดแดง (HbA1C) มีภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 31.18 และมีผุ้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 930 คน คุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ 54.41 (เกณฑ์ร้อยละ 50) มีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 111 คน คิดเป้นร้อยละ 11.93 (ที่มา HDC ณ 7 พ.ย. 2561 และ ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักสาธารณสุุขจังหวัดพัทลุง) จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยในคลินิกโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์และศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปากพะยูน พบว่า -การบริโภคอาหารรสมัน ผู้ป่วยเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน 81.11 ผู้ป่วยทั่วประเทศ 31.40 -การยริโภคอาหารรสหวาน ผู้ป่วยเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน 62.92 ผู้ป่วยทั่วประเทส 29.0 -การบริโภคอาหารรสเค็ม ผู้ป่วยเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน 8.99 ผู้ป่วยทั่วประเทศ 11.2 -การบริโภคผักและผลไม้ ผู้ป่วยเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน 16.39 ผู้ป่วยทั่วประเทส 46.50 -การออกกำลังกาย ผู้ป่วยเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน 32.70 ที่มา : การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง(พฤติกรรม 2561 N =150) : กองสุขศึกษา การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ 2559 ซึ่งจากข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ พบว่าส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมสุขภาพต่ำกว่าระดับประเทศ เช่น ด้านบริโภคอาหารรสมัน รสหวาน การบริโภคผักและผลไม้ การออกกำลังกาย หากพฤติกรรมสุขภาพไม่ดีหรือไม่ถูกต้องจะส่งผลกระทบต่อร่างกายหลอดเลือดสมองและหัวใจ ทำให้สุขภาพแย่ลง โรคที่เป็นอยู่กำเริบรุนแรง ควบคุมโรคไม่ได้และอาจเกิดผลแทรกซ้อนตามมา โรงพยาบาลปากพะยูนได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ ปรับเเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวคิดในการดุแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยมุ่งหวังว่าผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับความดันโลหิตได้

1.ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตได้

1.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

2.ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

1.00
3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

3.ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร อารมณ์ และการออกกำลังกายที่ดีขึ้น

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะทำงานโรคไม่ติดต่อ ตำบลปากพะยูน มอบหมายภารกิจ จัดทำแผนงานโครงการ 2.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.เตรียมกลุ่มเป้าหมายในการอบรม โดยคัดเลือกจากผู้ป่วยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ -ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ คือ ระดับน้ำตาล HbA1C > 7% -ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ คือ ระดับความดันโลหิต ฬ 140/90 mmHg 4.ดำเนินการอบรม 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 จัดห่างจากครั้งที่ 1 อย่างน้อย 3 เดือน -โดยใข้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลัง -จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้และปฏิบัติการพฤติกรรมสุขภาพ 3 ฐาน (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) 5.เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายร่วมกับคณะทำงาน พร้อมสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมพลังในการดูแลสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้มากขึ้น 2.ลดภาวะแทรกซ้อนและลดความพิการจากโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2562 08:49 น.