กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเพ็ชรน้อย คงเย็น
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซำซียะห์ ดือราแม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.834,101.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน พบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอายุ 5 – 14 ปี การระบาดของโรคจะเกิดในช่วงฤดูฝน โดยธรรมชาติของการเกิดโรคจะมีลักษณะการระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปีหรือระบาดติดต่อกัน 2 ปีเว้น 1 ปี โรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue Hemorrhagic fever) นับเป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่พบใหม่ (Emerging disease) เมื่อ 57 ปีที่แล้ว โดยพบระบาดเป็นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 และต่อมาพบระบาดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2501 และหลังจากนั้นได้ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในระยะ 40 ปีที่ผ่านมา มีการระบาดของไข้เดงกี/ไข้เลือดออกเดงกี เพิ่มมากขึ้น มีการระบาดเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ และจำนวนผู้ป่วยในแต่ละครั้งที่มีการระบาดก็เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการขยายพื้นที่ที่มีการระบาดออกไปอย่างกว้างขวาง ใน พ.ศ.2524 เริ่มมีการระบาดของไข้เลือดออกเดงกีเป็นครั้งแรกที่คิวบาหลังจากนั้นก็มีการรายงานของไข้เลือดออกเดงกีเป็น Emerging disease ของประเทศต่างๆในอเมริกากลางและอเมริกากลางมากขึ้น ในประเทศไทยเริ่มมีการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2501 ในปัจจุบันนี้จึงนับได้ว่าโรคไข้เลือดออกที่นำโดยยุงลาย (Aedes aegypti) ซึ่งมีเชื้อไวรัสที่เรียกว่า ไวรัสเดงกี ที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยพิจารณาทางด้านสาธารณสุขที่มีผู้ป่วยในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และทางด้านการแพทย์ ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีที่รุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นมาจากการรั่วของพลาสมา ทำให้ถึงเสียชีวิตอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง โรคนี้นับเป็นสาเหตุที่สำคัญของการป่วยและการตายในเด็กอย่างน้อยใน 8 ประเทศของทวีปเอเชียที่มีโรคนี้ชุกชุม ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่เกิดโรคออกไปอย่างกว้างขวางได้แก่ การเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางถนนและทางอากาศ ทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและระหว่างประเทศ ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคแบบ DHF ที่สำคัญคือ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกีชุกชุม มีมากกว่าหนึ่งชนิด ในเวลาเดียวกัน (Hyperendemicity with multiple serotypes) หรือมีการระบาดทีละชนิดตามกันในเวลาที่เหมาะสม (Sequential infection) เด็กมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เคยติดเชื้อมาแล้วครั้งหนึ่ง และเป็นเด็กที่มีภาวะโภชนาการดี โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นในตำบลบางเขา จากกสถิติข้อมูลย้อนหลังจำนวน 5 ปี พบผู้ป่วยทุกปีและมีอัตราป่วย / แสน ประชากรดังนี้ คือ ปี 2557 , 2558 , 2559,2560,2561 คือ 171.38 , 27.05 , 189.37 , 81.16,40.58 ตามลำดับ สำหรับปี 2562 พบผู้ป่วยแล้วจำนวน 1 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในการนี้ทางอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางเขาและทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขาได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยให้ประชาชนและองค์กรในท้องถิ่นมีส่วนร่วมเพื่อให้การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีความยั่งยืนและเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลบางเขาขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยไม่ให้เกิน 50 ต่อแสนประชากร

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางเขา

 

0.00
3 เพื่อควบคุมและทำลายแหล่งแพร่พันธ์ลูกน้ำยุงลาย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,300.00 3 36,300.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ประชุมชี้แจงแนวทาง 0 12,000.00 12,000.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 รณรงค์และประชาสัมพันะ์ 0 14,400.00 14,400.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 พ่นนำ้ยาเคมีทำลายยุงตัวแก่ 0 9,900.00 9,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หลังดำเนินการโครงการอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ดัชนีความชุกของยุงลาย (CI,HI) ในหมู่บ้าน โรงเรียน ศาสนสถานและสถานที่ราชการลดลงตำ่กว่าเกณฑ์ 3.ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2562 10:28 น.