กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลยาบี ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3070-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 57,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัซมี เส็นและ
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวฮาซัน โตะฮิเล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุข และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมความพร้อมในการควบคุมและการกำจัดลูกน้ำยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่

จากข้อมูลรายงานโรคระบาดของตำบลยาบี ปี 2559-2561 พบว่า 73.0, 73.21, 0, 81.57, 0 ต่อแสนประชากร ในเขตพื้นที่ตำบลยาบีไม่มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินกิจกรรมการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกที่ได้ดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่องทำให้พื้นที่มีประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ดี สาเหตุสำคัญ คือ

ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลยาบีอ.หนองจิก จ.ปัตตานีปี 2562 ขึ้น เพื่อเป็นการอบรมฟื้นฟูความรู้ให้กับทีมพ่นหมอกควัน อสม. และสร้างความตระหนักให้แก่คนในชุมชน ร่วมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ทีมพ่นหมอกควันและ อสม. เกี่ยวกับการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่ถูกต้อง

ค่าดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย ค่า HI และ CI ≤ 10 ทุกหมู่บ้าน

100.00
2 เพื่อให้ทีมพ่นหมอกควันมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการพ่นหมอกควัน

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

100.00
3 เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกพร้อมกันทั้งตำบล

มีการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกพร้อมกันทั้งตำบล

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 117,600.00 0 0.00
18 ก.ย. 62 ร่วมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือด 0 750.00 -
20 ก.ย. 62 ประชุมชี้แจงให้ความรู้ให้กับทีมพ่นหมอกควัน และ อสม.ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่ถูกวิธี 0 69,000.00 -
23 - 30 ก.ย. 62 พ่นหมอกควัน และ อสม.ร่วมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 47,850.00 -

ขั้นเตรียมการ
1. จัดหา จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน 2. ประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1. ประชุมชี้แจงให้ความรู้ให้กับทีมพ่นหมอกควันและอสม.ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่ถูกวิธี กิจกรรมที่2. ทีมพ่นหมอกควันและอสม.ร่วมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกตามชุมชน วัด มัสยิด โรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุขและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม - ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก - แจกทรายกำจัดลูกน้ำให้กับประชาชน - ร่วมมือคว่ำกะลาและกำจัดขยะบริเวณบ้านเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
- ทีมพ่นหมอกควัน พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยทั่วทั้งตำบล ขั้นสรุปผลการดำเนินการ 1. สรุปผลการดำเนินงานทุก1เดือนและนำเสนอสรุปผลการดำเนินงาน 2. ปัญหาอุปสรรค 3. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานในพื้นที่ ขั้นประเมินผล สรุปและประเมินตามกระบวนการพัฒนา 1.ประเมินผลความรู้ก่อนหลังการอบรม อสม.และทีมพ่นหมอกควัน 2.ประเมินผลก่อนหลังการพัฒนาทักษะ อสม.และทีมพ่นหมอกควน     3. ประเมินค่าเฉลี่ย HI ก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการแตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยโดยรวมลดลง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทีมพ่นหมอกควันและอสม.มีความรู้ ความเข้าใจ การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2.ค่าดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย /ค่า HI และ CI ในทุกหมู่บ้านลดลง 3.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2562 15:31 น.