กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย
รหัสโครงการ 62-L4127-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 10,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์ เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนุรอีมานี หะมะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๑ เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนานโยบายสาธารณสุขที่เน้นในการให้บริการรักษาพยาบาล โดยมีการขยายบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจนกระทั่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๙ ที่ผ่านมาที่มีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพทั้งด้านการรักษาพยาบาลการ ฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคอย่างได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพคนไทยตื่นตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพออกกำลังกายการใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่ปลอดภัยลดความเครียด เพื่อลดโรคที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือด และหัวใจความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและมะเร็ง เป็นต้น ในปีงบประมาณ 2561 รพ.สต.บาเจาะได้ดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค พบว่า การใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ และจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายบริการรพ.สต.บาเจาะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการร้านขายของชำในด้านการค้าขาย การประกอบอาหารให้ถูกสุขลักษณะและมีคุณภาพ ผู้ประกอบการร้านชำจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง และจำหน่ายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับ ประชาชนในชุมชนได้

ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพมาจำหน่าย

90.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้

ร้อยละ100 ของผู้ประกอบการมีความรู้ในการเลือกซื้อยาสามัญประจำบ้านได้

80.00
3 เพื่อพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการ

ร้อยละ 80 ของเครือข่ายคุ้มครอง สามารถให้ความรู้และคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคได้

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 1. 1.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข 0 10,500.00 -
1 - 30 พ.ค. 62 2.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง แก่ผู้ประกอบการ และเครือข่าย อสม. สาขาคุ้มครองผู้บริโภค 0 10,500.00 -
  1. ประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ร้านขายของชำในเขตพื้นที่ต่างๆ อย่างเหมาะสม และมีมาตรฐาน
  2. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง แก่ผู้ประกอบการ
    และเครือข่าย อสม. สาขาคุ้มครองผู้บริโภค
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
        2. ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้     3. เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ