กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมดี ที่พักอาศัยสะอาด ป้องกันโรคจากยุงลาย ชุมชนเกาะเลียบ
รหัสโครงการ 62-L7258-2-33
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนเกาะเลียบ
วันที่อนุมัติ 29 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิตร์ ไหมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านหรือที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่รีบเร่งแข่งกับเวลาทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องของการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดการมูลฝอย น้ำเสีย รวมทั้งสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ เช่นไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ที่เกิดจากปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งการจัดการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของที่พักไม่เหมาะสม เอื้อต่อการพักอาศัยของยุงลาย ชุมชนสถานีอู่ตะเภา จึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมดี ที่พักอาศัยสะอาด ป้องกันโรคจากยุงลาย”ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความตระหนัก ถึงความสำคัญของการสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานในครัวเรือน ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งในบ้าน และบริเวณบ้านโดยรอบให้ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อลดปัญหาการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และลดลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดยุงลาย ดำเนินงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ส่งเสริม การมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน และชุมชน

ประชาชนให้ความร่วมมือดูแลสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

พบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลง

0.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

อัตราการป่วยด้วยโรคที่มียุงลายลดลงหลังดำเนินโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 19,760.00 5 19,760.00
10 พ.ค. 62 ประชุมเตรียมงาน ติดตามและสรุปโครงการ 40 1,000.00 1,000.00
30 พ.ค. 62 อบรมให้ความรู้ 40 2,200.00 2,200.00
1 มิ.ย. 62 - 1 ส.ค. 62 พบปะพูดคุยและเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน 40 13,600.00 13,600.00
26 มิ.ย. 62 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ 40 2,760.00 2,760.00
13 ส.ค. 62 สรุปผลโครงการ 0 200.00 200.00
  1. เขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ มีการประชุมเตรียมงานและประชุมติดตามและสรุปผลการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงในการเกิดโรค
  5. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ 6.แต่งตั้งคณะทำงานชุมชน และตัวแทนครัวเรือนหรือผู้นำที่สนใจและมีความสามารถในการทำงานด้านปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน 7.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และ การจัดการขยะ 8.  ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม
    9.  การค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ชิคุนกุนยา และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี แก่เจ้าของบ้านและคณะทำงาน เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้
  6. เดินรณรงค์ในชุมชนสถานีอู่ตะเภาแจกแผ่นพับและทรายกำจัดลูกน้ำ (เบิกจากฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค)
  7. ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะ เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย
  8. ประชาสัมพันธ์ให้ครัวเรือนจัดการขยะของชุมชน ผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน และในที่ประชุมชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนสถานีอู่ตะเภา มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา เพิ่มขึ้น สามารถป้องกัน ดูแลตนเองและคนในครอบครัวได้
  2. ประชาชนในชุมชนสถานีอู่ตะเภาสามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคได้ ทำให้แหล่ง เพาะพันธุ์โรคในชุมชนลดลงและผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2562 14:26 น.