กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพ อาหารปลอดภัย หลีกเลี่ยงสารเคมี ห่างไกลสารพิษ ชุมชนสถานีอู่ตะเภา
รหัสโครงการ 62-L7258-2-44
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนสถานีอู่ตะเภา
วันที่อนุมัติ 29 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญญารัตน์ พูลเกิด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้พบว่าในพื้นที่ชุมชนสถานีอู่ตะเภา มีปัญหาเรื่องสุขภาพเนื่องจากมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสม เราสามารถดูแลสุขภาพได้ตามหลัก 3 อ. คือ อ.ที่ 1 คือ อาหาร รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ครบทั้ง 5 หมู่ ลดความหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันซ้ำหลายๆ ครั้ง    กินอาหารหลากหลายไม่จำเจ และอาหารที่ไม่มีสารพิษ อ.ที่ 2 คือ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้แข็งแรง อายุยืน โดยออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที และทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อ.ที่ 3 คือ อารมณ์ เลือกวิธีที่ถนัด  สนใจทำแล้วเพลิดเพลิน ลดความเครียด มีความสุข เช่น ฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์ นอนหลับพักผ่อน    ปลูกต้นไม้ พูดคุยพบปะกับ เพื่อนฝูงซึ่งสุขภาพที่ดีต้องอาศัยหลัก 3 อ จากปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่พบ    คนในชุมชนมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากการขาดองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ทำให้ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยด้วย โรคเรื้อรัง เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพรุมเร้ามานาน ซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาล  ที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น โรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาบาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมาก และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมีสาเหตุ มาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำมาใช้รับประทานกันมาก เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว      ชุมชนสถานีอู่ตะเภา จึงหันมาส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง แต่กระนั้น สำหรับประชาชนที่ไม่เคยปลูกผักเลยก็เป็นปัญหาใหญ่ ในการที่จะเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การปลูกผักด้วยตนเอง ชุมชนสถานีอู่ตะเภาตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการ ส่งเสริมสุขภาพ อาหารปลอดภัย หลีกเลี่ยง สารเคมี ห่างไกลสารพิษ ชุมชนสถานีอู่ตะเภา นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ และมีพืชผักปลอดสารพิษในการบริโภค

ชุมชนมีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ

0.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี

ชุมชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเอง

0.00
3 เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรักความสามัคคีในชุมชน

ชุมชนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะเปียก และสามารถลดปริมาณขยะเปียก
มีปฏิสัมพันธ์ ความรัก ความสามัคคีในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 41,050.00 5 41,050.00 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติจริง เรื่องผักปลอดสารพิษ และส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักชีวะภาพและน้ำหมักชีวภาพ ลดการมช้สารเคมีในชุมชน 0 12,000.00 12,000.00 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 สวนผักปลอดสารในชุมชน 0 7,200.00 7,200.00 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการประจำเดือน 0 20,800.00 20,800.00 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 การสื่อสารประชาสัมพันธ์ 0 350.00 350.00 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 สรุปผลการดำเนินงาน 0 700.00 700.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 41,050.00 5 41,050.00 0.00
  1. เขียนโครงการเพื่อเสนอโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ ๓. แต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินงาน ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการ
    ๕. รับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ๖. ดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ บรรยายและเชิงปฏิบัติการ ๗. ติดตามการปลูกพืชผักในชุมชน ๘. สรุปผลและประเมินโครงการ ๙. จัดทำเล่มโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่   กิจกรรม
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติจริง เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและส่งเสริมการทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ ลดการใช้สารเคมีในชุมชน โดยวิทยากรจากทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่
    • แบบสอบถามความรู้เรื่องผักปลอดสารพิษ ก่อนดำเนินโครงการ
    • ให้ความรู้เรื่องเทคนิคการปลูกผักปลอดสารพิษ
    • ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียกในครัวเรือน ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
  4. กิจกรรมสวนผักปลอดสารในชุมชน โดยทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่
    • สาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำสวนแบบผสมผสานในพื้นที่สาธารณะของชุมชน และการทำสวนแนวตั้ง (สวนผักคนเมือง) โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในชุมชน เช่นล้อรถ ขวดน้ำ แกลลอน หรือกระถางที่ประดิษฐ์ในชุมชน
  5. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการประจำเดือน เดือนละครั้ง เป็นเวลา 4 เดือน (จัดกิจกรรมครั้งละครึ่งวัน) ครั้งที่ 1
      - ฟังบรรยายเรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยวิทยากรทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่   - สาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติการทำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า โดยวิทยากรทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่   - กิจกรรมแบ่งปันความรู้เมนูสุขภาพพร้อมสาธิต โดยอาสาสมัครในชุมชน
    ครั้งที่ 2
    • ฟังบรรยายเรื่องประโยชน์ของจุลินทรีย์หน่อกล้วย โดยวิทยากรทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่
    • สาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย โดยวิทยากรทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่
    • กิจกรรมแบ่งปันความรู้เมนูสุขภาพพร้อมสาธิต โดยอาสาสมัครในชุมชน ครั้งที่ 3
    • ฟังบรรยายเรื่องฮอร์โมนไข่และฮอร์โมนนม โดยวิทยากรทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่
    • สาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติการทำฮอร์โมนไข่และฮอร์โมนนม โดยวิทยากรทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่
    • กิจกรรมแบ่งปันความรู้เมนูสุขภาพพร้อมสาธิต โดยอาสาสมัครในชุมชน ครั้งที่ 4
    • ฟังบรรยายเรื่องการเพาะถั่วงอกในวัสดุแบบต่างๆ โดยวิทยากรทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่
    • สาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติการเพาะถั่วงอก โดยวิทยากรทีมสวนผักคนเมืองหาดใหญ่
    • กิจกรรมแบ่งปันความรู้เมนูสุขภาพพร้อมสาธิต โดยอาสาสมัครในชุมชน หมายเหตุ กิจกรรมทั้ง 4 ครั้ง เป็นการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการคนในชุมชน และกิจกรรมแบ่งปันความรู้เมนูสุขภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำอาหารเมนูสุขภาพมารับประทานอาหารร่วมกันตอนเที่ยง             เมนูอาหารประจำเดือน
      เดือน อาหาร เมนูน้ำสมุนไพร พฤษภาคม ข้าวยำสมุนไพร น้ำมะตูม มิถุนายน เมี่ยงคำสมุนไพร น้ำฝาง กรกฎาคม น้ำพริกเพื่อสุขภาพ น้ำตรีผลา สิงหาคม ยำสมุนไพร น้ำตะไคร้   หมายเหตุ : เดือนสุดท้ายในการทำกิจกรรมจะนำผักที่ได้จากการปลูกในชุมชน         มาทำอาหารรับประทานร่วมกัน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโรคในครังเรือน 2.ลดปริมาณขยะเปียกในครัวเรือน ชุมชน 3.เกิดปฏิสัมพันธ์ ความรักความสามัคคีในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2562 15:19 น.