กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกระตุ้นพัฒนาการหนูน้อยและเสริมสร้างไอคิว อีคิว
รหัสโครงการ 60-L4150-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2560 - 26 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.นูรยะห์ดอเล๊าะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พัฒนาการที่สมวัยเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กไทย การที่เด็กจะมีพัฒนาการสมวัยในทุกๆด้าน ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องขึ้น เริ่มตั้งแต่แม่หรือครอบครัวที่จะต้องให้การดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณและสัดส่วนที่เพียงพอ การออกกำลังกาย การไปตรวจครรภ์ตามนัด ภายหลังคลอดแล้วมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้อาหารเสริมตามวัย ในส่วนของสถานบริการส่งเสริมสุขภาพและให้ความช่วยเหลือแม่และครอบครัวในรายที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งครอบครัวและชุมชนควรมีการจัดเตรียมความพร้อมและมีการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมแก่เด็ก รวมทั้งจัดให้มีสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน หรือศูนย์เด็กเล็กเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเตรียมความพร้อม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมให้แก่เด็ก เมื่อครอบครัวและชุมชนมีการเลี้ยงดูเด็กที่ดีแล้ว ก็จะเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาคนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตตลอดจนการได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0- 5 ปีเพื่อให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ หากเขาได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีถูกต้องตามหลักการแล้วเขาจะกลายเป็นพลเมืองไทยที่มีคุณภาพยิ่งซึ่งเขาจะนำความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ในวัยเด็กไปใช้ในการเรียนรู้ความฉลาดสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคม ที่เป็นบุคคลและสิ่งของได้ดีตลอดจนสามารถจะแก้ปัญหาที่สำคัญได้ดีในอนาคต ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะเสริมสร้างคุณภาพของคนไทยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศที่มีความสำคัญมากและท้ายสุดจะส่งเสริมพัฒนาประเทศไทยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กในครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการกระตุ้นพัฒนาการและส่งเสริมการสร้างไอคิวอีคิวในเด็ก 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการกระตุ้น/ส่งเริมพัฒนาการ และเสริมสร้างไอคิว อีคิว เด็กในชุมชน ๓. เพื่อค้นหาเด็กที่เสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า ได้รับการช่วยเหลือและส่งต่อโรงพยาบาล 4.เพื่อให้เด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องการกระพัฒนาการเด็ก และไอคิว อีคิว ร้อยละ70 ๒. เด็กที่เสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า ได้การรับส่งต่อและได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ ๗๐ ๓. เด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ยกเว้น MMR
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ๒. ประชุมทีมงานฝ่ายเวชปฏิบัติ / กำหนดบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน ๓. ประเมินความรู้ผู้เข้าอบรมก่อน – หลังการฝึกอบรม ๔. อบรมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก การเสริมสร้าง ไอคิว อีคิว วัคซีน จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ ๑ กลุ่มเป้าหมาย อสม. รุ่นที่ ๒ กลุ่มเป้าหมาย พ่อ/แม่/ผู้เลี้ยงดูเด็ก ๕. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ กระตุ้นพัฒนาการตามกลุ่มอายุ จำนวน๕ ฐาน ฐานที่ ๑ กระตุ้นพัฒนาการช่วงอายุ0 - 9 เดือน ฐานที่ ๒ กระตุ้นพัฒนาการช่วงอายุ๑๐ - 18 เดือน ฐานที่ ๓ กระตุ้นพัฒนาการช่วงอายุ๑๙ - 30 เดือน ฐานที่ ๔ กระตุ้นพัฒนาการช่วงอายุ๓๑ - 40 เดือน ฐานที่ ๕ ด้านการช่วยเหลือและส่งต่อ ๖. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานติดตามวัคซีน ในเขตรับผิดชอบร่วมกับอสม. ๗. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญในเรื่องพัฒนาการ วัคซีน และ อีคิว ไอคิว ผ่านเสียงตามสาย วิทยุชุมชนฯลฯ 8. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน/ รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการเด็กในช่วง อายุ 0-5 ปี และสามรถเสริมสร้างพัฒนาการและไอคิว อีคิวในเด็กได้ ๒. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบ และส่งต่อในกรณีเด็ก0-5 ปี ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า ๓. กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงการความสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 11:07 น.