โครงการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ ปี 2562
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ ปี 2562 |
รหัสโครงการ | 62-L8287-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา |
วันที่อนุมัติ | 20 มีนาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2562 - 15 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 22,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายภิจิตร์ เตะหมัดหมะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายกาดาฟี หะยีเด |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.82,100.94place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 20 พ.ค. 2562 | 15 ก.ย. 2562 | 22,550.00 | |||
รวมงบประมาณ | 22,550.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2531 – 2558 พบมีผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 7,303 ราย สัดส่วนชาย : หญิงเท่ากับ 2.38 : 1 รายงานเสียชีวิต 1,221 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการ 2,901 ราย ผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 25 - 39 ปี อาชีพที่พบมากคือ รับจ้าง เกษตรกรรม ประมง ตามลำดับ อำเภอที่พบมากคือ หาดใหญ่ เมือง สะเดา โดยสาเหตุการติดเชื้อผู้ป่วยส่วนใหญ่ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 47.2 ติดเชื้อจากมารดาร้อยละ 3.0 และจากยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นร้อยละ 3.1
การดำเนินงานด้านเอดส์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการ บูรณาการ การดำเนินงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย และช่วยหนุนเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งด้านทรัพยากร องค์ความรู้ ผลักดันเชิงนโยบาย การดูแลรักษาและการส่งต่อ เพื่อลดการซ้ำซ้อนของการทำงานและมีความครอบคลุม และต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย คือเยาวชนในระบบการศึกษาจะได้มีความรู้และทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์ รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะชีวิตที่ได้รับจากการอบรม เพื่อเป็นการป้องกันตัวเอง ครอบครัว รวมถึงบุคคลใกล้ชิด อีกทั้งเป็นแกนนำในการดำเนินงานด้านการป้องกันโรคเอดส์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดี
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว เป็นอย่างยิ่ง และได้ดำเนินการด้านการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มเด็กนักเรียนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 – 2560 ผลปรากฏว่า เด็กและเยาวชนมีความรู้และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในสังคมใหม่ๆได้เมื่อไปศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ ขึ้น โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขถึง พ.ศ. 2546 มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ และอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 16 (19) อำนาจหน้าที่ด้านการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการป้องกันตนเองตลอดจนมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากโรคเอดส์ ร้อยละ 80 ของกลุ่มเยาวชนผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์และการป้องกันโรคเอดส์ |
80.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมป้องกันเอดส์ของเด็ก เยาวชน อสม. และแกนนำต่างๆ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงข้อมูลความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี |
70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 22,550.00 | 0 | 0.00 | |
1 มิ.ย. 62 - 15 ก.ย. 62 | กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน โรงเรียน | 0 | 1,800.00 | - | ||
31 ก.ค. 62 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 0 | 20,750.00 | - |
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้
- ประสานโรงเรียนในพื้นที่เพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมายและขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม
- ประสานวิทยากรเพื่อจัดอบรมตามโครงการ
- จัดเตรียมวัสดุในการจัดกิจกรรม
- ดำเนินการจัดอบรมตามโครงการ
- วิทยากรบรรยาย
- ร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม - สรุปและประเมินผลกิจกรรม
- กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์
- ประสานแกนนำชุมชน แกนนำสุขภาพ เพื่อร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์
- จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เอกสารประชาสัมพันธ์ ใบปลิว เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์
- รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ แจกแผ่นพับ ใบปลิวความรู้ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ทักษะใน
การป้องกันตนเองและมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากโรคเอดส์ ตลอดจนสามารถถ่ายทอด
ความรู้ให้บุตรหลานได้ - ประชาสัมพันธ์ผ่านผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โดยใช้เสียงตามสายของมัสยิดในหมู่บ้าน - สรุปและประเมินผลกิจกรรม
- เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการป้องกันตนเองตลอดจนมี
พฤติกรรมที่ปลอดภัยจากโรคเอดส์ - เกิดการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมป้องกันเอดส์ของเด็ก เยาวชน อสม. และแกนนำต่างๆ
ตลอดจนประชาชนในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2562 15:18 น.