กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแฟ้มคู่ใจ ห่วงใยสุขภาพชุมชน
รหัสโครงการ 60-L4150-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2560 - 26 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.วิลดาดือราซอลีมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 69 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนให้หน่วยบริการดูแลในด้านการรักษาพยาบาล สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่ยังไม่ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพเนื่องจากหน่วยบริการมีอุปสรรคในการดำเนินงานด้านบุคลากรเชิงรุกที่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการอีกทั้งขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนาระบบการให้บริการดังกล่าวข้างต้นให้มีคุณภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้สูงอายุและผู้พิการที่ไม่สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายเช่นโรคหลอดเลือดสมองแตก/ตีบ/ตัน โรคหัวใจ เกิดอัมพาตหรืออันตรายถึงชีวิตได้ในที่สุดกลายเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้าน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาได้ให้บริการดูแลประชาชนในเขตรับผิดชอบจำนวน4800คนและจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด1,496หลังคาเรือนซึ้งมีจำนวนมากและดูแลไม่ทั่วถึงจึงจำเป็นจะต้องมีผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลประชาชนผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดีที่สุดคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาจึงเล็งเห็นว่าหากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและการเก็บข้อมูลประชาชน ให้ครบถ้วน สมบูรณ์จึงได้จัดทำโครงการแฟ้มคู่ใจ ห่วงใยสุขภาพชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. พัฒนาศักยภาพทีมหมอครอบครัวระดับชุมชนในการให้บริการดูแลสุขภาพเชิงรุกและเชิงรับ 2. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานดูแลสุขภาพเบื้องต้นของชุมชนให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนอย่างใกล้ชิดเข้าถึงเข้าใจโดยทีมหมอครอบครัว
  1. ร้อยละ 80ของอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ในเรื่องการส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟู
    สุขภาพในทุกกลุ่มวัยด้านกาย จิต สังคม
    1. ร้อยละ 100ของอาสาสมัครสาธารณสุขมี “แฟ้มคู่ใจ ห่วงใยสุขภาพ ใช้ในการดำเนินงาน
    2. ทุกหลังคาเรือนมีการติดสติกเกอร์บอกรายชื่อทีมหมอครอบครัวที่รับผิดชอบ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำทะเบียนอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นปัจจุบันสำรวจครัวเรือนและแบ่งละแวกการดูแล ครัวเรือนให้ทีมหมอครอบครัวระดับชุมชน 2. จัดเตรียมเอกสารและสื่อความรู้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 3. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
ชั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องการส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟู
สุขภาพในทุกกลุ่มวัยด้านกาย จิต สังคม 1.1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องให้ความรู้เรื่องการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัยกิจกรรมการ ฟื้นฟูความรู้การใช้เครื่องมือในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนกิจกรรมชี้แจงการ”ใช้แฟ้มคู่ใจ ห่วงใยสุขภาพ” 2.จัดทำนวัตกรรม“แฟ้มคู่ใจ ห่วงใยสุขภาพ”ตามกลุ่มวัยและจัดทำแนวทางการให้คำแนะนำการดูแลที่บ้านรวมถึงการประสานส่งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งปัญหาความเจ็บป่วยและดูแลด้านจิตใจ บรรเทาทุกข์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนอย่างใกล้ชิดเข้าถึงเข้าใจ 3.จัดทำสติกเกอร์ทีมหมอครอบครัวติดทุกหลังคาเรือนเพื่อติดไว้ให้ทราบว่าทีมหมอครอบครัวที่ดูแลแต่ละหลังเรือนคือใคร และเป็นการสื่อสารถึงมิติใหม่ของการบริการสาธารณสุขขั้นปฐมภูมิเพื่อเยียวยาความทุกข์ของผู้เจ็บป่วยและผู้ดูแลในทุกมิติโดยเฉพาะกลุ่ม ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน คนพิการ และผู้สูงอายุ 4.ทีมหมอครอบครัวระดับชุมชนมีการดำเนินงานด้านสุขภาพทั้งเชิงรุกผสมผสานเชิงรับและมีการลงบันทึกกิจกรรมทุกครั้ง พร้อมทั้งส่งรายงานทุกเดือนเพื่อรวบรวมผลการดำเนินงานและประเมินความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.ทีมหมอครอบครัวมีการประชุมเดือนละครั้งเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน รวมรวมกิจกรรมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งร่วมประสานและแก้ไขปัญหาของชุมชนต่อไป 6.สรุปผลการเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทีมหมอครอบครัวระดับชุมชนมีความรู้ในการให้บริการดูแลสุขภาพเชิงรุกและเชิงรับได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ 2.มีแนวทางในการดำเนินงานดูแลสุขภาพเบื้องต้นของชุมชนให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข
อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความมั่นใจในการทำงาน 3.อาสาสมัครสาธารณสุขได้มีมีแนวทางและสร้างความเข้าใจ ในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4.ประชาชนได้รับการการดูแลสุขภาพที่บ้านรวมถึงการประสานส่งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งปัญหาความ เจ็บป่วยและดูแลด้านจิตใจ บรรเทาทุกข์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนอย่าง ใกล้ชิดเข้าถึงเข้าใจประชาชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 11:41 น.