กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนห่วงใยสุขภาพจิต
รหัสโครงการ 60-L4150-1-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2560 - 26 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.นูรีซานปานาวา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 139 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคจิตเวช (Schizophrenia) เป็นปัญาหาสำคัญทางสาธารณสุข เป็นโรคที่มีความผิดปกติด้านความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีผลเสียต่อการดำเนินกิจวัตรประจำวัน เช่นการดูแลตนเอง การใช้ชีวิตในสังคม จากสถิติการให้บริการในคลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชที่ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในช่วงปี 2557-2559 ทั้งหมด ๕๘๓, ๕๕๙, และ ๖๔๓ ตามลำดับ จากการทบทวนและวิเคราะห์ปัญหาพบว่าผู้ป่วยรับยาไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ เอะอะอาละวาด ทำลายข้าวของ บางร้ายทำร่ายร่างกายบุคคลในครอบครัวหรือคนอื่น ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม ซึ่งการกลับมาเป็นซ้ำแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการสูญเสียมากยิ่งขึ้นกับผู้ป่วยและญาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจและเวลาที่ต้องมาส่งผู้ป่วยทำให้ขาดการประกอบอาชีพญาติเกิดความเบื่อหน่ายในการดูแลผู้ป่วย เกิดความเครียดและมีความอดทนกับผู้ป่วยน้อยลงมีการโต้ตอบผู้ป่วยอย่างไม่เหมาะสมทำให้เกิดความเครียดและกลับมาป่วยซ้ำ จากการวิเคราะห์สาเหตุที่ผู้ป่วยจิตเวชไม่มารับยาต่อเนื่อง มีดังนี้ 1. ผู้ป่วยไม่มีญาติดูแล ๒.มีญาติดูแล แต่ญาติไม่มีศักยภาพ ๓. ผู้ป่วยไม่ยอมรับการเจ็บป่วย ดังนั้นหากเครือข่ายในชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน อสม. และอบต. ในพื้นที่ ให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อผู้ป่วยจิตเวชได้เข้าถึงบริการและได้รับดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ๒.เพื่อผู้ป่วยจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3.เพื่อให้ครอบครัวและเครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
  1. ร้อยละของผู้ป่วยโรคจิตเข้าถึงบริการ ๕๕ ๒.ร้อยละ 80 เครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ๓. ร้อยละ ๘๐ ผู้ป่วยจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.สำรวจผู้ป่วยที่ในกระบวนรักษาและยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา โดยผู้นำชุมชน อสม. ๒.สำรวจความต้องการของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน
๓.จัดเวทีประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาที่แท้จริงในชุมชน ๔.คัดเลือกอาสาสมัครเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหมู่ละ 1 คน
ขั้นดำเนินการ ๑.จัดอมรมพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขเรื่องการคักรอง/ทักษะการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช ๒.จัดอมรมผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื่องการสร้างแรงจูงใจการดูแลผู้ป่วยและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่บ้าน ๓.ลงติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชทุก 1 เดือน ครบ ๖ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างเหมาะสม และ ทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 11:48 น.