กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครคัดกรองวัณโรค-เอดส์
รหัสโครงการ 60-L4150-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2560 - 26 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพาซีนิเดร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิตในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,๒๕๔๘) ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคประมาณ ๒ พันล้านคน หรือเกือบ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต ๑.๙๐ ล้านคนในแต่ละปี ประเทศไทยมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานย้ายถิ่น แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกประเภทประมาณ ๙๒,๓๐๐ คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ ๔๔,๔๗๕ คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ ๑๒,๐๘๙ ราย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ตรวจพบวัณโรคร่วมด้วย ประมาณร้อยละ ๑๗ (สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๓)
อำเภอยะหา จำนวนผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมดในปี พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙ จำนวน ๓๓ , ๓๓และ๓๒ ราย อัตราความสำเร็จของการรักษา (Success Rate) ร้อยละ ๙๐.๐๐๘๑.๒๕และ ๘๑.๓๐ อย่างไรก็ตามยังพบว่าความครอบคลุมของการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคใหม่เสมหะพบเชื้อ (TB case detection)ปี ๒๕๕๗ ไม่บรรลุเป้าหมาย (ร้อยละ ๗๐) ซึ่งต้องเร่งรัดในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรด้อยโอกาส และกลุ่มเสี่ยงต่างๆให้คลอบคลุม รวมทั้งการทำงานแบบผสมผสานวัณโรค และโรคเอดส์อย่างจริงจัง เพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วย อีกทั้งป้องกันปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอีกด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นตัวแทนประชาชนที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนเป็นอย่างดี ให้เอื้อต่อการป้องกันวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นแกนนำด้านสุขภาพที่มีความสำคัญในชุมชน ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อของโรค การดูแลและรักษาพยาบาล อันตรายของโรค การป้องกันและควบคุมโรคที่ดีระดับหนึ่ง ทำให้มีความเป็นไปได้ในการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชนตนเอง นอกจากเป็นการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนเองแล้ว ยังเป็นทางเลือกที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัณโรค แก้ไขปัญหาวัณโรค ด้วยชุมชน และเพื่อชุมชนตนเอง ดังนั้นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินงานวัณโรคดังกล่าวจึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครคัดกรองวัณโรค-เอดส์ตำบลยะหาอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายจึงต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันวัณโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครในการคัดกรอง ดูแลผู้ป่วยในชุมชน 2 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ 3 เพื่อการมีส่วนร่วมของแกนนำอาสาสมัคร ผู้นำชุมชนในการดูแลครอบครัวผู้ป่วย
  • ร้อยละ 100 ของ อาสาสมัครคัดกรองวัณโรค-เอดส์ตามเป้าหมายได้รับการอบรม และร้อยละ 50 มีศักยภาพในการคัดกรองวัณโรค-เอดส์ และวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน ผู้ดูแลผู้ป่วยโรควัณโรค (TB) , ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ (HIV) , แกนนำอาสาสมัครในชุมชน จำนวน80คน ต้องได้รับการอบรม จำนวน 80 คน อาสาสมัครคัดกรองวัณโรค-เอดส์ จำนวน80คน มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของสมาชิกในครอบครัว 40คน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ 1.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ผู้ดูแลผู้ป่วยโรควัณโรค (TB), ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ (HIV) และแกนนำอาสาสมัครในชุมชน 3. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย 4. จัดทำเอกสาร คู่มือ อาสาสมัครคัดกรองวัณโรค-เอดส์ 5. แจ้ง – ประสาน อสม. ประชาสัมพันธ์ กำหนดการดำเนินงาน ในชุมชน ขั้นดำเนินการ 1จัดประชุมเตรียมการ 2จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครคัดกรองวัณโรค-เอดส์ -ผู้ดูแลผู้ป่วยโรควัณโรค (TB)ได้รับความรู้เรื่องอาการของโรควัณโรค การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อการกินยาต่อเนื่อง การปฏิบัติตัวขณะป่วย จำนวน20คน 2.ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ (HIV) ได้รับความรู้เรื่องอาการของโรคเอดส์ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อการกินยาต่อเนื่อง การปฏิบัติตัวขณะป่วย จำนวน20คน 3.แกนนำอาสาสมัครในชุมชน จำนวน40คน

กิจกรรมที่ 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การคัดกรองวัณโรค-เอดส์ แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วย แกนนำในชุมชน อสม. หมู่ละ 16 คน -อบรมให้ความรู้เรื่องโรควัณโรค โรคเอดส์ -ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ อาการแสดงของโรค -แนะนำการใช้แบบประเมินคัดกรองโรคในชุมชน -ให้ความรู้วิธีการคัดกรองโรคที่ถูกต้อง

กิจกรรมที่ 2รณรงค์เนื่องในวันวัณโรคโลกและเอดส์โลก -จัดบู๊ธให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคและโรคเอดส์ -ให้สุขศึกษาเรื่องโรควัณโรคและโรคเอดส์ -ให้บริการตรวจเสมหะ และส่งเอ็กซ์เรย์ในรายที่ต้องสงสัย -ส่งพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค -ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคและโรคเอดส์ เดือนละ 1 ครั้งทุกราย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรคและโรคเอดส์เพิ่มขึ้น 2อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคและโรคเอดส์เพิ่มขึ้น 3. ผู้สัมผัสร่วมบ้านวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองเพิ่มขึ้น 4. ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ได้รับการคัดกรองเอชไอวีทุกราย 5. แกนนำอาสาสมัครมีความรู้เรื่องโรควัณโรคและโรคเอดส์เพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 11:54 น.