กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเฝ้าระวังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน รพ.สต.ทุ่งมะขาม
รหัสโครงการ 60-L8402-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สนางสมพรชิตณรงค์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมพรชิตณรงค์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิโรจน์สมพงศ์ ผอ.รพ.สต.ทุ่งมะขาม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1849 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องได้รับการดูแล โดยคนไทยส่วนใหญ่ป่วยด้วย โรคเรื้อรังหรือโรคจากวิถีชีวิตมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย พบว่าคนไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงถึง ๑๑.๕ ล้านคน ซึ่งได้รับการรักษาและควบคุมอาการได้ประมาณ ๑ ใน ๔ เท่านั้นยังมีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจำนวนมากที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัย ซึ่งกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการดูแลจะเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้สูง รายงานผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2559 จากการคัดกรองในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 25,712,099 คน พบว่าเป็นกลุ่มปรกติ 18,941,875 คน กลุ่มเสี่ยงสูง 6,110,342 คน เป็นกลุ่มป่วยหรือสงสัยป่วยรายใหม่ 1,216,093 คนและจากรายงานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2559 ซึ่งป่วยความดันโลหิตสูงในปีงบประมาณ 2559 พบว่าจากกลุ่มเสี่ยง 6,932,121 คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 646,344 คน คิดเป็นร้อยละ 10.21 และ จากกลุ่มปรกติ 15,891,978 คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 653,533 คน คิดเป็นร้อยละ 4.11รวมป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ปี 2559 จำนวน 1,291,452 คน (ข้อมูล จาก 43 แฟ้มมาตรฐาน) จึงต้องให้หน่วยงานสาธารณสุขแต่ละพื้นที่ ช่วยกันคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ให้ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ ๙๐ พร้อมประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยทางสำนักงานธารณสุขอำเภอรัตภูมิได้เร่งรัดให้หน่วยงานสังกัด ได้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลทั้ง๑๑แห่ง เร่งดำเนินการตรวจคัดกรองประชากรอายุตั้งแต่๓๕ปีขึ้นไป เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคและเร่งดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขามมีจำนวน1,06๘๐หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้น๓,612คน ประชากรกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๑,๘๕0คน มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน๑๔๒ราย เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๘จำนวน๗ รายผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน๓2๘รายเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕8จำนวน๗ราย(ข้อมูลพื้นฐาน รพ.สต.ทุ่งมะขาม, ๒๕๕๙) ปี ๒๕๖๐ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า มีผู้ที่มีอายุ ๓๕ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานร้อยละ 9๕.๕๒ และ เข้ารับการตรวจคัดรองความดันโลหิตสูง ร้อยละ 9๗.๑๒ซึ่งต้องได้รับการคัดกรองอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ๑,๒๕๘คน และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังและเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคฯ จำนวน๙๕คน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม จึงได้เห็นปัญหา ภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อาจจะเกิดขึ้น ที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจสังคม และเศรษฐกิจในครอบครัวจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม ประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงกับประชาชนพื้นที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

1.1 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองด้วยแบบสอบถามเบื้องต้น(verbal screening) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
1.2 ประชาชนที่มีผ่านการคัดกรองด้วย (Verbal screening) ได้รับการตรวจยืนยันด้วย(DTX Strip test)ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง

2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

2.1 ประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมเพื่อการลดภาวะเสี่ยง ร้อยละ 60 ของจำนวนประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง
2.2 ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถควบคุมภาวะเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
29 ก.ย. 60 ค่าถ่ายเอกสารในการคัดกรอง 0 1,000.00 1,000.00
29 ก.ย. 60 ค่าแผนป้ายไวนิลในการประชาสัมพันธ์โครงการ 0 3,900.00 3,900.00
29 ก.ย. 60 ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบหน้าหลัง 0 2,000.00 2,000.00
29 ก.ย. 60 ค่าอาหารว่างและค่าเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันโลหิตสูง 0 1,850.00 1,850.00
29 ก.ย. 60 ค่าอาหารว่างและค่าเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันโลหิตสูง 0 14,250.00 14,250.00
29 ก.ย. 60 แผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด สำหรับกลุ่มเสี่ยง 0 21,250.00 21,250.00
29 ก.ย. 60 เข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 7 กล่อง 0 5,250.00 5,250.00
รวม 0 49,500.00 7 49,500.00

3.๑. ขั้นเตรียมการ 3.๑.๑ เก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน
3.๑.๒ ประสานงานเครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม
3.๑.๓ ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม 3.๒. ขึ้นดำเนินการ 3.๒.1 ประชุมชี้แจงแผนงานโครงการและสถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน แก่เครือข่ายสุขภาพ รพ.สต. ทุ่งมะขาม ทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน 3.๒.2 อบรม ให้ความรู้แก่ อสม.และผู้นำชุมชน ด้านการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายและการใช้เครื่องมือในการคัดกรอง กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในชุมชน รวมทั้งคัดเลือกหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประจำปี ๒๕๖๐ 3.2.3 อสม. ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
3.๒.๔ เก็บรวบรวม บันทึกข้อมูลการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายโรคเบาหวานและโรคคามดันโลหิตสูง ในโปรแกรม Jhcis ประมวลผลการคัดกรองและคืนข้อมูลสู่ชุมชน ต่อการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
3.2.5 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงซ้ำเพื่อยืนยันความเสี่ยงของโรค ทั้งเชิญชวนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรม ชมรม DPAC ประจำ รพ.สต.ทุ่งมะขามเพื่อเข้ารบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ต่อไป 3.2.6 ให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการให้สุขศึกษาทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล ในสถานบริการ การตรวจภาวะเสี่ยงของโรคฯ เดือนละ ๑ ครั้ง จำนวน ๖ เดือน พร้อมแจกใบความรู้ แผ่นพับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งในสถานบริการและชุมชน 3.2.7 จัดกิจกรรมและประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเดือนละ ๑ครั้ง จำนวน ๖ เดือน 3.๒.8 ดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ รณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนจัดกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๕วันๆละ อย่างน้อย ๓๐ นาทีอย่างต่อเนื่องเกิดแหล่งเรียนรู้ชุมชนประจำหมู่บ้าน เป็นต้น 3.2.๙ ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ประชากรเป้าหมาย อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดรองโรคฯและได้รับความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้
๒ ผู้ที่ได้รับการคัดกรองฯ ที่พบว่ามีความเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
๓ ขยายกิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในพื้นที่ รพ.สต.ทุ่งมะขาม เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๑ หมู่บ้าน
๔ อัตราป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขามลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 13:29 น.