กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเปิดประตูบ้านเด็กสะกำ สุขภาพดีถ้วนหน้า
รหัสโครงการ 62-l3007-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.สะกำ
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2562 - 30 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2563
งบประมาณ 25,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสหม๊ะ วาเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.72,101.462place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพของเด็กเล็กก่อนวัยเรียนนอกจากครูผู้ดูแลเด็กในสถานศึกษาแล้วผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพของเด็กรวมรวมถึงการป้องกันโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นได้หากผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเพราะการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองจึงมีความสำคัญและจำเป็นและเด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจาเด็กโดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด 0-5ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์จิตใจและสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูทีเหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รู้จักควบคุมอารมณ์เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้ จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก 0-5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำ เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ากว่าร้อยละ 34.51 ซึ่งร้อยละ 23.44 เป็นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กว่าร้อยละ 80 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
ข้อมูลเด็กที่มีภาวะเสี่ยงที่จะต้องเฝ้าระวังในเรื่องของการพัฒนาการล่าช้าในตำบลสะกำปี 2561 เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ น้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม จำนวน 2 ราย เด็กคลอดก่อนกำหนดจำนวน 2 ราย ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำ จึงให้ความสำคัญกับผู้ปกครอง เพื่อที่จะเป็นแรงเสริมในการแก้ปัญหา นำพาเด็กสะกำสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญ การเฝ้าระวังและการกระตุ้นพัฒนาเด็กแก่ผู้ปกครองในพื้นที่

ร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถสังเกตความผิดปกติของบุตรได้

ร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีความรู้สามารถสังเกตความผิดปกติของบุตรได้

0.00
3 3.เพื่อให้ประชานมีความรู้ความเข้าใจในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ประชานมีความรู้ความเข้าใจในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ -เก็บรวบรวมข้อมูล -ประสานงานกับบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ -จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ 2.ขั้นดำเนินการ -จัดกิจกรรมอสม.บือรีตอ smart kid วัคซีนพัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน ฟันดีไม่ผุ -จัดกิจกรรมให้ความรู้ "บูกอฮาตีอีบู บาเปาะ" -จัดกิจกรรม "พาหมอเคาะประตู" -จัดกิจกรรม "อสม.โซเฟอร์ฉุกเฉิน" -จัดกิจกรรม "อสม.จอมตื้อ ตื้อหนักเพราะรักจริง" -จัดกิจกรรม "ประกวดเด็กดี สะกำ smart kid" 3.ขั้นสรุปผล ประเมินผลและสรุปโครงการเมื่อสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการ 2.เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการตรวจคัดกรองและแก้ไขหาอย่างเหมาะสม 3.เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ อายุ หากล่าช้า ได้รับการติดตาม 4.เด็กมีน้ำหนักดีศูงสมส่วน และสามารถติดตามในรายที่มีน้ำหนักน้อยได้ทันเวลา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2562 11:06 น.