กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลัง หยุดยั้งไข้เลือดออก ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3354-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลวกร้อน
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนัฐศมน สุขเอก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.545,100.05place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกคือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี่มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและคงามรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยนโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยงข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลวกร้อน 3 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2559-2561 พบผู้ป่วย จำนวน 14,18 และ 8 ราย คิดเห็น 341.80, 439.45 ,และ190.34 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ศูนย์ระบาดวิทยา สสอ.เมืองพัทลุง) จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าในปีที่ผ่านอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกมีแนวโน้มลดลง เพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีมาตราการในการป้องกันและสร้างความตระหนักในการร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายแก่ประชาชนและผู้นำชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพือให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

นักเรียนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ไม่ก้อยร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 420 40,500.00 6 40,500.00
12 มิ.ย. 62 เสริมสร้างความรู้เรื่องไข้เลือดออกและโรคติดต่อแก่นักเรียน 40 10,000.00 10,000.00
13 มิ.ย. 62 เสริมสร้างความรู้เรื่องไข้เลือดออกและโรคติดต่อแก่นักเรียน 40 10,000.00 10,000.00
14 มิ.ย. 62 เสริมสร้างความรู้เรื่องไข้เลือดออกและโรคติดต่อแก่นักเรียน 40 10,000.00 10,000.00
26 มิ.ย. 62 รณรงค์ไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน 100 3,500.00 3,500.00
19 ก.ค. 62 รณรงค์ไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน 100 3,500.00 3,500.00
16 ส.ค. 62 รณรงค์ไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน 100 3,500.00 3,500.00

ระยะเตรียมการ 1.ประชุมเจ้าหน้าที่ในเครือข่าย อสม.เพื่อค้นหาปัญหา 2.เขียนโครงการเพื่อสนับสนุนงบประมาณ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านหอกระจายข่าวและ อสม. ระยะดำเนินการ 1.อบรมแกนนำนักเรียนปราบยุงลาย 2.รณรงค์กำจัด สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย เน้นการกำจัดชีวภาพและกายภาพ 3.เสริมสร้างความู้เรื่องไข้เลือดออกและการป้องกันประชาชน โดยจัดทำเป็นเอกสารแผ่นพับ 4.สำรวจพฤติกรรมของประชาชนในการควบคุมป้องกันลูกน้ำยุงลายและไข้เลือดออก 5.จัดบอร์ดความรู้เรื่องไข้เลือดออกสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ระยะหลังดำเนินการ 1.การนิเทศติดตาม 2. ประเมินผลและสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนและประชาชนมีความรู้และมีความตื่นตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 2. ปรัชาชนมีพฤติกรรมการการป้องกันตนเองจากไข้เลือดออกที่ดีขึ้น 3.อัตราป่วยด้วยไข้ออกลดลงและไม่มีผู้ป่วยตาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2562 13:18 น.