กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและมอบเครื่องช่วยพยุงเข่าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ตำบลดอนทราย ปี60
รหัสโครงการ 60L3022320
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลดอนทราย
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวาริท กอเสง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซาลีนา กอเสง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.701place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมของข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า และเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด และอาจพบร่วมกับโรคข้ออักเสบชนิดอื่นได้ นับวันเป็นปัญหาที่มีความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้เพราะจำนวนของคนวัยทองนับวันจะมีมากขึ้นและจะมากขึ้นอีกในอนาคต ยิ่งคนเรามีอายุยืนมากขึ้นเท่าไร จำนวนของคนที่เป็นโรคข้อเสื่อมก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น มีการศึกษาที่แสดงว่าคนที่อายุ 60 ปี ขึ้นไปมีคนที่เป็นโรคข้อเสื่อมถึงร้อยละ 50 และสำหรับคนที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป มีถึงร้อยละ 70 ที่เป็นโรคข้อเสื่อม ถ้าคนเรามีอายุถึง 100 ปี สงสัยว่าทั้งร้อยละ 100 จะเป็นโรคข้อเสื่อม ดังนั้นพวกเราทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้นจนเข้าวัยทองคงหนีไม่พ้นโรคข้อเข่าเสื่อมโรคข้อเสื่อมที่เกิดกับข้อเข่าเป็นโรคข้อเข่าที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ เริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี แต่มักพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี เราจะเข้าใจการเกิดโรคนี้จากภาวะสูงอายุได้ง่ายขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของการเหี่ยวย่นของผิวหนังกับข้อเข่าของผู้สูงอายุ โดยเมื่ออายุน้อย ผิวหนังมีความเต่งตึงเช่นเดียวกับผิวข้อที่มี ผิวเรียบ มัน วาว แต่เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังเหี่ยวย่นขึ้น เช่นเดียวกับการเสื่อมสภาพของผิวข้อ กระทรวงสาธารณสุขเผยพบคนไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุกว่า 6 ล้านคน โดยพบในผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไปมากถึงร้อยละ 40 แนวโน้มมีสูงขึ้น พร้อมเตือนประชาชนให้เร่งดูแลสุขภาพตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน เพราะกระดูกคนเราจะเริ่มเสื่อมเมื่ออายุ 40 ปี นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมวันโรคข้อสากลเฉลิมพระเกียรติทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่โรงพยาบาลราชวิถี ว่าโรคกระดูกและโรคข้อกำลังเป็นปัญหาของประชาชน โดยทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคนี้กว่า 400 ล้านคน ในอีก 20 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 เนื่องจากประชากรโลกมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อายุยืนยาวขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ผลจากการใช้ชีวิตที่สุขสบายมากขึ้น ขาดการออกกำลังกาย ไม่กินผักใบเขียว จะทำให้เกิดโรคข้อกระดูกและโรคข้อมาก รวมทั้งเกิดมาจากอุบัติเหตุจราจร ทำให้กระดูกหัก กระดูกผิดรูปไป ทั้งนี้ จากสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในไทยของมูลนิธิโรคข้อ พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมกว่า 6 ล้านคน และมีโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ และโรคเกาต์ รวมกันเกือบ 7 ล้านคน โรคข้อเสื่อมจะพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ มีอายุมากว่า 65 ปีขึ้นไป มากถึงร้อยละ 50 รองลงมาคือโรคกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกพรุน ซึ่งพบในหญิงอายุมากกว่า 50 ปี ถึงร้อยละ 40 และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี


ตำบลดอนทรายพบผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วจำนวน 15 รายคิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลดอนทราย จึงได้จัดทำโครงการ “มอบเครื่องช่วยพยุงข้อเข่าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม(OA Kneeตำบลดอนทราย ปี 60เพื่อลดการรับน้ำหนักของข้อ ซึ่งเครื่องช่วยพยุงข้อเข่า จะช่วยบรรเทาอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้หัวเข่าเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น และช่วยเสริมความมั่นคงของข้อให้กระชับและแข็งแรงขึ้นแต่ต้องหมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อลีบเล็กลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอัตราการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

ลดอัตราการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

2 2.เพื่อให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้สะดวกมากขึ้นและผู้สูงอายุทำกิจกกรมทั่วไปได้มากขึ้น

ผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เคลื่อนไหวและทำกิจกรรมด้วยตนเองได้มากขึ้น

3 3เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ข้อเข่า

ลดอัตราความเสี่ยงจากการหกล้ม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติ 2.จัดประชุมชี้แจงคณะทำงาน 3.นักกายภาพคัดกรองภาวะเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ 4.จัดทำหนังสือเชิญการประชุมเชิญวิทยากร
2.ขั้นดำเนินการ ๕.จัดอบรมให้ความรู้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ๕.1 อบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องการดูแลข้อเข่า ๕.2 อบรมการฟื้นฟูโรคเข่าเสื่อม ๕.3 อบรบโภชนบำบัดเพื่อควบคุมน้ำหนักลดการเสื่อมของเข่า 3.ขั้นประเมินผล ๖.ติดตามการกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในตำบลดอนทราย โดยนักกายภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.บรรเทาอาการปวดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ 2.ลดอัตราการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 3.ลดอัตราความเสี่ยงจากการหกล้ม 4.ผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เคลื่อนไหวและทำกิจกรรมด้วยตนเองได้มากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 14:56 น.