กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดหวาน มัน เค็ม ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L4121-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ2
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูไรดา สาแล๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.ย. 2562 27 ก.ย. 2562 14,300.00
2 30 ส.ค. 2562 30 ส.ค. 2562 5,700.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื่้อรัง ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัญหาภาวะแทรกงซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลสถิติในปี 2550 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น 4 ใน 5 เป็นชาวเอเซีย พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขาดความรู้ในการดูแลตนเอง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้คงที่ ไม่เคยได้รับการตรวจเท้า ไม่รู้ว่าทำไมต้องตรวจเลือด ไม่รู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเอง ขาดความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสมทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การกินยา การออกกำลังกาย การดูแลระดับน้ำตาลในเลือด การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ว่ามีความสำคัญอย่างไร นั้นแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีโอกาส เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นทุกปี กลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2560 และ2561 ของโรคความดันโลหิตสูงของอำเภอธารโต 32 ราย และ 34 ราย และโรคเบาหวานรายใหม่ในปี 2560 และ 2561 จองอำเภอธารโต 21 ราย และ 36 ราย   จากการทกสอบความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพทั้งการรับประทานอาหารและยา ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบว่าผู้ป่วยยังขาดความรู้ จึงส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ดี ดังนั้นโครงการนี้จึงมีความสำคัญในการเตรียมผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมจากสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักสุขศึกษาและโภชนาการ โดยเน้นให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้สามารถดูแลสุภาพได้อย่างถูกวิธี แบบพึ่งพาตนเอง ไม่ต้องพึ่งยามากเกินความจำเป็น ให้เป็นแบบยั่งยืน และนำไปพัฒนางานให้เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบครบวงจร ส่งเสริมให้ทีมงานสหวิชาชีพมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบและเป็นต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ ทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลสมุทรสาครให้ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้ในเรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพตา ไต เท้า ทั้งสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมควบดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  2. ผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
1.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำความรู้ที่ได้รับ มาปรับพฤติกรรมในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง ใช้ยาได้อย่างปลอดภัย ถูกวิธี และลดการพึ่งพาการใช้ยาที่เกินความจำเป็น
  1. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมควบดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  2. ผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
1.00
3 เพื่อนำความรู้มาพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยงานแบบครบวงจร ร่วมกับทีมงานสหวิชีพ (แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชากร นักสุขศึกษา เป็นต้น)
  1. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมควบดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  2. ผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 20,000.00 0 0.00
16 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้ 100 20,000.00 -
  1. ขั้นก่อนอบรม 1.1 จัดทำโครงการเสนอเพื่อโปรดลานามอนุมัติ 1.2 จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 1.3 ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง 1.4 จัดทำแผนการอบรม วัน เวลา สถานที่ในการอบรม 1.5 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ การอบรม แจ้งกลุ่มเป้าหมาย 2 ขั้นกิจกรรมอบรม 2.1 เป็นการบรรยายให้ความรู้ 3 ขั้นตอนหลังการอบรม บทบาทหน้าที่อสม. 3.1 ช่วยเตรียมกลุ่มเป้าหมายที่จะคัดกรอง และร่วมดำเนินการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วย 3.2 มีทะเบียนผู้ป่วยรายโรค และแยกระดับผู้ป่วยในการรักษา ในเขตรับผิดชอบ
    3.3 ช่วยร่วมกิจกรรมดำเนินการตามแผนการรักษาของแพทย์ เป็นพี่เลี้ยงในการดูแลสุขภาพดีขึ้น 3.5 ให้ขวัญและกำลังใจผู้ป่วยที่มีส่วนร่วมและมีการรักษาที่ดีขึ้น 4 ขั้นตอนหลังการอบรม บทบาทหน้าที่ผู้ดูแล 4.1 ช่วยร่วมกิจกรรมดำเนินการตามแผนการรักษาของแพทย์ เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้าน 4.2 เช็คกิจกรรมประจำวันของผู้ป่วยทุกวัน และรวบรวมส่ง รพ.สต.ทุกสิ้นเดือน 4.3 ร่วมรับทราบการสรุปผลการประเมินและปรับระดับคนไข้ ที่มีระดับการดูแลสุขภาพดีขึ้น 4.4 ให้ขวัญและกำลังใจผู้ป่วยที่มีส่วนร่วมและมีผลการรักษาที่ดีขึ้น 5 ขั้นตอนหลังการอบรม บทบาทหน้าที่ผู้ป่วย 5.1 ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตนตามคำแนะและตามแผนการรักษาของแพทย์ 5.2 มารักการรักษาตามนัด 5.3 รับทราบการสรุปผลการประเมินกิจกรรมเปรียบเทียบระดับ น้ำตาล และความดัน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจ ตระหนัก รวมทั้งสามารถประเมินสภาวะสุขภาพในเรื่องการป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้
  2. บุคลากรในชุมชน (อสม./ผู้ดูแล) มีความรู้และสามารถคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดัน ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยไดอย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้ป่วยมีความรู้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ยืดระยะเวลาการมีภาวะแทรกซ้อนหรือการเกิด ภาวะแทรกซ้อนลดลง
  4. มีระบบการดำเนินการโรค เบาหวาน/ความดัน แบบครบวงจร โดยชุมชนมีส่วนร่วม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 11:47 น.