กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงไทยยุคใหม่ใส่ใจมะเร็ง ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L4121-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ2
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูไรดา สาแล๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.ย. 2562 27 ก.ย. 2562 11,800.00
2 30 ส.ค. 2562 30 ส.ค. 2562 6,800.00
รวมงบประมาณ 18,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทย จากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2546 (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2548) พบว่า อัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ตามลำดับ สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ,2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ โดยการทำ Pap smear หรือ VIA (Visual Inspection of cervix with Acetic acid) ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy)   ปีงบประมาณ 2561 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และ VIA ในสตรีไทยอายุ 30-60 ปี   ในการนี้ โรงพยยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ 2 ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี จึงจัดทำโตรงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี 30-60 ปี ทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ภายใน 5 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558-2562) โดยตั้งเป้าหมายให้มีการตรวจคัดกรองฯ ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และในปี 2558 ก็ยังต่ำกว่า ร้อยละ 20

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก

เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก

1.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างถูกต้อง

เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างถูกต้อง

1.00
3 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย

เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 18,600.00 0 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมและบริการคัดกรอง 80 18,600.00 -
  1. ทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. จัดประชุมชี้แจงเป้าหมายการดำเนินงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน
  3. จัดทำแผนปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตรับผิดชอบ
  4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองฯในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น อสม. และภาคีเครือข่าย
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการตรวจคัดกรองฯ ผ่านหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน
  6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงาน
  7. แต่งตั้งทีมสุขภาพให้การบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  8. ลงบันทึกข้อมูลตามระบบโปรแกรม
  9. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานฯ ให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
  3. สตรีที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 13:42 น.