กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2562

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ความดันโลหิต/เบาหวาน4 ตุลาคม 2562
4
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.อ่าวตง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นเตรียมการ
        1. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ         ๒. จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน         ๓. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ         ๔. แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ ขั้นดำเนินการ         1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ             -ตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดรอบเอว คำนวณค่าดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต วัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดเบื้องต้น             -อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง 2 รุ่น ใช้หลัก 3 อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย โดยนักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข           2. เตรียมกลุ่มเป้าหมาย เพื่อคัดกรองโรคบาหวานด้วย 75 gm OGTT
2.1 เจ้าหน้าที่ และอสม. ค้นหากลุ่มเป้าหมาย โดยการคัดเลือกประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคเบาหวานอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะ DTX ≥ 100-125 mg%
(งดอาหาร)
2.2 อสม. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะ DTX ≥ 100-125 mg% (งดอาหาร) ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อการติดตามและการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 2.3 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม กรอกแบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการและเข้าร่วมกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนดจนเสร็จสิ้นโครงการ 3. จัดอบรมพัฒนาบุคลากรทีมสหวิชาชีพ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการดำเนินงาน โดยแบ่งการอบรมเป็น 2 ระยะ ตามระยะเวลาที่กำหนด 4. ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส OGTT โดยการทำ 75 gm OGTT (Oral Glucose Tolerance Test : OGTT) ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
          5.การวัดความดันที่บ้าน(SMBP) อย่างน้อย 7 วันต่อเนื่อง 6. ส่งเสริมสนับสนุนการดูแลตนเองแบบมีส่วนร่วม กลุ่ม ปกติ เสี่ยง และป่วยโดยตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยขับเคลื่อนโดยแกนนำ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพระดับชุมชน เช่น มีสถานที่ที่เหมาะสม    ในการ ออกกำลังกาย ต้องส่งเสริม ให้ มีการปลูกผักและกินผักที่ปลูก หรือ เลือกซื้อผักที่ปลอดสารพิษส่งเสริม
      7. ติดตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการเสริมแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องโดย ประเมินจากค่าความเสี่ยง เช่น ระดับน้ำตาล รอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย ที่เปลี่ยนแปลงไป ทุก 1 เดือน เป็นรายบุคคล  ระยะเวลา ๕ เดือน ( พฤษภาคม 62 – กันยายน 2562 )   8. คืนข้อมูลการเฝ้าระวัง การดำเนินงานตามโครงการฯ ให้กับ ชุมชน และ ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เป็นระยะ เพื่อทบทวน และปรับกลวิธีการดำเนินงาน เพื่อมุ่งเน้น การลดผู้ป่วยรายใหม่ และปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
9. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ปัจจัยความสำเร็จ สิ่งที่สามารถนำมาเป็นรูปแบบ และอุปสรรค ที่ไม่สามารถดำเนินการได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.จัดอบรมความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 161 คนโดยแบ่งเป็น 2 รุ่น  โดยแบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวน 89 คนกลุ่มเสี่ยง เบาหวาน 72 คน 2.จัดกิจกรรม Walk Rally โดยแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้จำนวน 2 ฐาน (สันทนาการ/นันทนาการ)
  ฐานที่ ๑ ฐานประเมินสัดส่วนร่างกาย   ฐานที่ ๒ ฐานเรียนรู้ด้านอาหาร           3.การทดสอบค่าความเค็มในอาหาร ในบ้านกลุ่มเสี่ยงอบรมกลุ่มเสี่ยงความดัน จำนวน 89 คน           4.ติดตามกลุ่มเสี่ยงโดยทีม อสม.และเจ้าหน้าที่ ทุกเดือน