กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกจิตสำนึกรักษ์สุขภาพในวัยเยาว์
รหัสโครงการ 60-L4165-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลวังพญา
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 พฤษภาคม 2562 - 30 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 55,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สภาเด็กและเยาวชนตำบลวังพญา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.544,101.375place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพ คือ สภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต และสังคมตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลกแห่ง (WHO) หมายถึง สภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต การดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข จะเห็นได้ว่า สุขภาพ นั้นไม่ได้หมายถึงความปราศจากโรคหรือความบกพร่องเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสุขภาพจิตที่ดี เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขอีกด้วย   ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2545 คำว่า สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย กล่าวคือ การมีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ มีความคล่องแคล่ว และมีกำลัง พร้อมทั้งการมีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบของสุขภาพ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. สุขภาพกาย หมายถึง สภาพร่างกายที่ดี เช่น มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ร่างกายทำงานได้ตามปกติ 2. สุขภาพจิต หมายถึง สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ 3. สุขภาพสังคม หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญา เช่น ความรู้เท่าทันและความเข้าใจสามารถแยกแยะได้ระหว่างความดีกับความชั่ว 4. สุขภาพศีลธรรม หมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

จิตสำนึก คือ เป็นสภาพที่รู้ตัวว่าคือใคร อยู่ที่ไหน ต้องการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็แสดงออกไปตามหลักเหตุและผล แสดงตาม แรงผลักดันจากภายนอก สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (principle of reality) จิตสำนึกเป็นระดับเหตุผลภายในใจ ที่ส่งผลต่อการแสดงออกในพฤติกรรมต่างๆ โดยเลือกแล้วว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร เป็นการระลึกรู้ได้เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของตัวเองในโครงสร้างสังคม ดังที่เราจะได้ยินบ่อย ๆ ว่า จิตสำนึกแห่งความเป็นครู จิตสำนึกของพลเมือง จิตสำนึกสาธารณะ จิตสำนึกของการเป็นคนดี จิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม จิตสำนึกจึงเกี่ยวโยงกับคุณธรรม และจริยธรรมของบุคคลนั่นเอง การที่บุคคลจะมีคุณธรรม มีจิตสำนึกที่ดี จำต้องมีการอบรมสั่งสอนหรือซึมซับประสบการณ์จากครอบครัว หรือสังคมรอบตัว และผ่านการกระทำจนเป็นสันดานแห่งความดีหรือจิตสำนึกนั่นเอง อยู่ๆจะให้มีจิตสำนึกเกิดขึ้นเองคงจะเป็นไปได้ยาก


จากความหมายของคำว่าสุขภาพ และจิตสำนึกดังกล่าว สภาเด็กและเยาวชนตำบลวังพญา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การปลูกจิตสำนึกในการรักษ์สุขภาพของเด็กในวัยเยาว์ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่เด็กในวัยเยาว์ให้สามารถป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองได้ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การดำรงชีวิตของเด็กในวัยเยาว์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนที่เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพแนวโน้มการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรุนแรง ทำให้ต้องพึ่งบริการทางการแพทย์มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปลูกจิตสำนึกการรักษ์สุขภาพแก่เด็กในวัยเยาว์ เพื่อให้เด็กในวัยเยาว์มีความรู้ด้านสุขภาพ และสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

สุขภาพ คือ สภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต และสังคมตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลกแห่ง (WHO) หมายถึง สภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต การดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข จะเห็นได้ว่า สุขภาพ นั้นไม่ได้หมายถึงความปราศจากโรคหรือความบกพร่องเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสุขภาพจิตที่ดี เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขอีกด้วย   ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2545 คำว่า สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย กล่าวคือ การมีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ มีความคล่องแคล่ว และมีกำลัง พร้อมทั้งการมีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบของสุขภาพ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. สุขภาพกาย หมายถึง สภาพร่างกายที่ดี เช่น มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ร่างกายทำงานได้ตามปกติ 2. สุขภาพจิต หมายถึง สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ 3. สุขภาพสังคม หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญา เช่น ความรู้เท่าทันและความเข้าใจสามารถแยกแยะได้ระหว่างความดีกับความชั่ว 4. สุขภาพศีลธรรม หมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข           จิตสำนึก คือ เป็นสภาพที่รู้ตัวว่าคือใคร อยู่ที่ไหน ต้องการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็แสดงออกไปตามหลักเหตุและผล แสดงตาม แรงผลักดันจากภายนอก สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (principle of reality) จิตสำนึกเป็นระดับเหตุผลภายในใจ ที่ส่งผลต่อการแสดงออกในพฤติกรรมต่างๆ โดยเลือกแล้วว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร เป็นการระลึกรู้ได้เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของตัวเองในโครงสร้างสังคม ดังที่เราจะได้ยินบ่อย ๆ ว่า จิตสำนึกแห่งความเป็นครู จิตสำนึกของพลเมือง จิตสำนึกสาธารณะ จิตสำนึกของการเป็นคนดี จิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม จิตสำนึกจึงเกี่ยวโยงกับคุณธรรม และจริยธรรมของบุคคลนั่นเอง การที่บุคคลจะมีคุณธรรม มีจิตสำนึกที่ดี จำต้องมีการอบรมสั่งสอนหรือซึมซับประสบการณ์จากครอบครัว หรือสังคมรอบตัว และผ่านการกระทำจนเป็นสันดานแห่งความดีหรือจิตสำนึกนั่นเอง อยู่ๆจะให้มีจิตสำนึกเกิดขึ้นเองคงจะเป็นไปได้ยาก         จากความหมายของคำว่าสุขภาพ และจิตสำนึกดังกล่าว สภาเด็กและเยาวชนตำบลวังพญา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การปลูกจิตสำนึกในการรักษ์สุขภาพของเด็กในวัยเยาว์ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่เด็กในวัยเยาว์ให้สามารถป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองได้ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การดำรงชีวิตของเด็กในวัยเยาว์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนที่เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพแนวโน้มการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรุนแรง ทำให้ต้องพึ่งบริการทางการแพทย์มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปลูกจิตสำนึกการรักษ์สุขภาพแก่เด็กในวัยเยาว์ เพื่อให้เด็กในวัยเยาว์มีความรู้ด้านสุขภาพ และสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กในวัยเยาว์มีจิตสำนึกในการรักษ์สุขภาพ
  2. เด็กในวัยเยาว์มีความรู้ด้านสุขภาพ และนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
  3. เด็กในวัยเยาว์มีอัตราการเกิดโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2562 09:41 น.