กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร,ยาและเครื่องสำอางในชุมชนและพัฒนาศักยภาพ อสม นักวิทย์ด้วยแอพพลิเคชั่น กรมวิทย์ with you
รหัสโครงการ 2562-L5275-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่
วันที่อนุมัติ 24 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 70,473.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิชาภา ศรีสังข์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีการเผยแพ่รในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในร้านชำ พบว่ามีร้านชำบางร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้องและไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน อาทิ มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีอย. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่อย.เคยตรวจพบสารอันตรายและประกาศห้ามจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไม่มีเลขจดแจ้ง และการจำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านในร้านชำ มากกว่า ร้อยละ 60 และจากการดำนเนิงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พบว่ากลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆในชุมชน มีการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในชุมชนเป็นจำนวนมาก ประชาชนอยู่ในฐานะผู้เสียเปรียบเพราะไม่อาจทราบถึงความจริงในเรื่องคุณภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ ประกอบกับหลงเชื่อโฆษณาที่ผู้จำหน่ายอวดอ้าง ทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพ จากการดำเนินงานโครงการร้านชำปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคในปี 2561 ทีมคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ ได้มีสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร สารอันตรายในเครื่องสำอางค และสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ ในร้านชำ ร้านสะสมอาการ ตลาดนัด และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีผู้นำมาส่งตรวจ พบว่า ร้อยละ 40 ยังการการปนเปื้อนสารอันตราย แต่เนื่องจากชุดทดสอบสารปนเปื้อนที่ได้รับสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอมีจำนวนที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถดำเนินการเฝ้าระวังได้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านหูแร่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้แก่ชุมชน มุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการงานคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพภายใต้การดำเนินการแบบมีส่วนร่วม โดยจัดตั้ง      ศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน การพัฒนาและการส่งเสริมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ให้มีความสามารถในการดำเนินงานการแพทย์ชุมชน ซึ่งการดำเนินงานโครงการนี้ เป็นการดำเนินงานต่อยอด และขยายผลจากการปฎิบัติงานปกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชุมฃน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างยั่งยืนต่อต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

เกิดเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

0.00
2 เพื่อสร้างทีมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพ

เกิดศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพ กรมวิทย์ with you ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ และผ่านเกณฑ์ ศูนย์แจ้งเตือนภัยในระดับดีขึ้นไป

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการและจัดทำโครงการ 2.อบรมเชิงปฎิบัติเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค(อสม นักวิทย์ จำนวน 70 คน ตัวแทนประชาชนหมู่ละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน) โดยเน้นการคุ้มครองผู้บริโภค การใช้งานหน้าต่างเตือนภัยกรมวิทย์ with youและการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร/สเตียรอยด์ในยาแผนโบราณและสารอันตรายในเครื่องสำอางค์ได้ โดยกิจกรรม work shop มี 7 ฐานคือ 1) ฐานสารกันรา 2) ฐานฟอร์มาลีน 3) ฐานบอแรกซ์ 4) ฐานตรวจเครื่องสำอาง 5) ฐานตรวจสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ 6) ฐานน้ำมันทอดซ้ำ 7) ฐานสารฟอกขาว 2.สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ยาแผนโบราณ/อาหารเสริม และเครื่องสำอางในชุมชน มาตรวจเพื่อเฝ้าระวัง ปีละ 3 ครั้ง (ทุกๆ 4 เดือน) และตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัยที่ประชาชนนำส่งทุกๆวันศุกร์ 3.สื่อสารประชาสัมพันธ์ผลการตรวจสู่ประชาชน 4.สร้างเครือข่ายผู้บริโภคเข้มแข็ง 5. แปรผล รายงานและสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพ กรมวิทย์ with you ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหูแร่ และผ่านเกณฑ์ศูนย์แจ้งเตือนภัยในระดับดีขึ้นไป 2.ประชาชนผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3. เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 4. เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2562 10:00 น.