กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บำบัดชีวิต พิชิตโรคด้วยศาสตร์มณีเวช
รหัสโครงการ 2562-L5275-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาาพตำบลบ้านหูแร่
วันที่อนุมัติ 24 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 42,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิชาภา ศรีสังข์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย กำลังเป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญนำมาซึ่งความท้าทายในหลายมิติ ในส่วนของประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยจากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า หลังจากปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ จากการสำรวจสุขภาพประชาชนเมื่อปี 2557 พบว่าโรคที่มักพบในผู้สูงอายุได้แก่ ข้ออักเสบ/ข้อเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน นอกจากนี้ผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 มีปัญหาการขึ้นลงบันได การกลั้นอุจจาระ หรือปัสสาวะไม่ได้ การทรงตัว ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรมีการดูแล ส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ เพื่อลดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ให้พึ่งพาตนเองได้สามารถดำรงชีวิตและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ ซึ่งควรจัดให้มีการพัฒนามาตรฐานและแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุให้มีคุณภาพ มาตรฐานเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง มณีเวชเป็นศาสตร์ที่ถูกค้นพบโดยการนำเอาภูมิปัญญาไทย จีน อินเดีย มาบูรณาการร่วมกับหลักกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ( Anatomy and Physiology ) มาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการเกิดโรคได้ มณีเวชแนะนำการใช้ชีวิตให้มีอิริยาบถที่ถูกต้อง ทั้งการยืน เดิน นั่ง นอน การขึ้นลงเตียง เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสมดุล เน้นการปรับส่วนต่างๆของร่างกายให้สมดุลด้วยตัวเอง โดยใช้ท่าบริหารมาตรฐาน 5 ท่าได้แก่ ท่าไหว้สวัสดี ท่าโม่แป้ง ท่าถอดเสื้อ ท่ากรรเชียง ท่าปล่อยพลังและท่านอน 3 ท่าได้แก่ ท่างู ท่าแมว ท่าเต่า รวมถึงท่านั่ง ท่าผีเสื้อ เพื่อปรับสมดุลร่างกายส่วนล่างและในกรณีที่ร่างกายผิดปกติมากหรือไม่สามารถจัดรักษาตัวเองได้ ก็สามารถจัดโครงสร้างกระดูกเพื่อปรับรักษาร่างกายให้สมดุลได้ การจัดโครงสร้างให้ผู้อื่นในเด็กตั้งแต่แรกเกิดสามารถรักษาอาการผิดปกติต่างๆได้ เช่นเด็ก Erb’s palsy , Club foot เด็กที่มีปัญหาการดูดกลืน เด็กพัฒนาการช้าและเด็กตัวเหลือง ส่วนในผู้ใหญ่สามารถรักษาภาวะกระดูกสันหลังคด ไมเกรน ภูมิแพ้ office syndrome และในผู้สูงอายุ มณีเวชจะช่วยดูแลรักษาเรื่องนอนไม่หลับ ท้องผูก ปวดกระดูก ปวดข้อ และโรคต่างๆอีกมากมาย มณีเวชเป็นวิชาการแพทย์ที่ใช้ต้นทุนต่ำ ประหยัด พอเพียง เรียบง่าย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ใช้หลักของธรรมชาติในการบำบัดรักษา แนะนำการใช้ชีวิตให้มีสติในอิริยาบถต่างๆ เพื่อให้โครงสร้างร่างกายอยู่ในสมดุล และเป็นวิชาที่รักษาที่สาเหตุของโรคอย่างแท้จริง สามารถใช้วิชา มณีเวช ในทุกมิติของสุขภาพทั้งในการส่งเสริมสุขภาพ (health promotion) การป้องกันโรค (prevention) การวินิจฉัย (diagnosis) การรักษาโรค (treatment) และการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย (rehabilitation)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่เห็นถึงความสำคัญในการใช้ศาสตร์มณีเวช มาดูแลผู้ป่วย ประชาชนและ บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ จึงได้จัดทำโครงการบำบัดชีวิต พิชิตโรคด้วยศาสตร์มณีเวชนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ศาสตร์มณีเวช

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องใช้ศาสตร์มณีเวชเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์มณีเวชในการดูแลสุขภาพตนเองได้

ผู้เข้าอบรมนำศาสตร์มณีเวชไปใช้อย่างต่อเนื่องร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อเป็นการพัฒนางานบริการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดอบรม ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 3. จัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม สื่อ และอุปกรณ์ต่างๆ 4. จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์มณีเวช โดยแบ่งเป็น 3 รุ่นๆละ 50 คน ( หมู่ละ 1 รุ่น) 5. ประเมินและรายงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ศาสตร์มณีเวช 2.ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์มณีเวชในการดูแลสุขภาพได้ 3.ผู้เข้ารับการอบรมพึงพอใจในการพัฒนางานบริการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2562 10:29 น.