กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่น วัยใส ห่างไกลตั้งครรภ์ไม่พร้อม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววฤณดา นนท์ธีระบวร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 98 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่น 15 - 19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัษววษ (Millennium Development Goals, MDG) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10 - 14 ปี และอายุ 15 - 19 ปี เป็นส่วนหนึงของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสถขภาวะที่ดีของคนทุกคนทุกเพศทุกวัยที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 สำหรับประเทศไทย พบการคลอ ดในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ข้อมูลจากสถิติสาธารณสุขพบว่า วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีคลอดบุตรเพิ่มขึ้นจากประมาณ 95,000 คน ในปี พ.ศ. 2546 เป็นประมาณ 104,300 คน ในปี 2558 ในจำนวนนี้เป็นการคลอดบุตรโดยวัยรุ่น ที่มีอายุน้อย คืออายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณปีละ 3,000 คน นอกจากนั้นวัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี ทั้งหมด การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2555 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า วัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปีที่มีบุตรและเกือบครึ่งหนึ่งเป็นการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนใหญ่มีสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนในระดับยากจนมาก ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และนอกพื้นที่เขตเทศบาลมีอัตราน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้ ยังทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงานรวมทั้งรายได้ในอนาคต การขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้เด็กจำนวนหนึ่งหนึ่งถูกทอดทิ้ง หรือเติบโตอย่างไม่มีคุณภาพ จากผลการปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็กในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ ปี 2561 พบหญิงพบหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อายุ 15 - 19 ปี จำนวน 10 ราย จากจำนวนตั้งครรภ์รายฝใหม่ทั้งหมด 25 ราย คิดเป็นรายละ 15.38 และพบอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นอายุ 15 -19 ปี จำนวน 3 ราย จากจำนวนตั้งครรภ์อายุ 15 - 19 ปี ทั้งหมด 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.35 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ "วัยรุ่น วัยใส ห่างไกลตั้งครรภ์ไม่พร้อม" ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำงานอนามัยแม่และเด็กให้มีความรู้ความสาารถในการให้คำแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ุ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดุแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  1. ทีมสุขภาพและแกนนำอนามัยแม่และเด็กได้รับการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็กอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ของครรภ์ตั้งครรภ์รายใหม่ อายุ 15 -19 ปี

อัตราการตั้งครรภ์รายใหม่ อายุ 15 -19 ปี น้อยกว่า 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 -19 ปีหนึ่งพันคน

0.00
3 3. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ 15 - 19 ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
  1. อัตราการตั้งครรภ์ซำ้ในวัยรุ่น อายุ 15 - 19 ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี น้อยกว่าร้อยละ
0.00
4 4. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 14 ปี
  1. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 14 ปี เท่ากับ 0
0.00
5 5. เพื่อลดอัตราทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและคลอดในสถานพยาบาลมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม

อัตราทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและคลอดในสถานพยาบาลมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม น้อยกว่าร้อยละ 7

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำงานอนามัยแม่และเด็กให้มีความรู้ความสาารถในการให้คำแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ุ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดุแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ของครรภ์ตั้งครรภ์รายใหม่ อายุ 15 -19 ปี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ 15 - 19 ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : 4. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 14 ปี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : 5. เพื่อลดอัตราทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและคลอดในสถานพยาบาลมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

23 ส.ค. 62 ถ่ายเอกสาร สิ่งพิมพ์ เเละการจัดซื้อ 0.00 3,000.00 -
26 ส.ค. 62 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานทีมสุขภาพเเกนนำงานอนามัยเเม่เเละเด็ก รพ.สต.บางปอเพื่อสอบถามความคิดเห็นค้นหาปัญหาเเละวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยเเละเด็กในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บางปอเเละหาเเนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน 0.00 2,450.00 -
27 ส.ค. 62 ประชุมเชิงปฏิบัติการพร้อมสรุปวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน/เเลกเปลี่ยนเรียนรู้/ร่วมหาเเนวทางในการเฝ้าระวังเเละเเก้ไขปัญหางานอนามัยเเม่เเละเด็ก 0.00 2,450.00 -
28 ส.ค. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการให้คำเเนะนำเรื่องเพศศึกษาให้เหมาะสมกับเพศเเละวัย เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น 0.00 13,400.00 -
29 ส.ค. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการเวที วัยรุ่น วียใส ห่างไกลตั้งครรภ์ไม่พร้อม 0.00 8,600.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานทีมสุขภาพ แกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก รพ.สต.บางปอ เพื่อสอบถามความคิดเห็น ต้นหาปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยและเด็กในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บางปอ และหาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน
  2. จัดทำข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย/วางแผนการดำเนินงาน
  3. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินโครงการ
  4. แกนนำอนามัยแม่และเด็ก จัดทำมาตรฐานการดูแลในขณะตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด เพื่อพัฒนาตามมาตราฐานงานอนามัยแม่และเด็ก
  5. ประชุมชี้แจงทีมสุขภาพ และแกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก รับทราบหลักการและแนวทางการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการททำงาน
  6. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  7. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทราบ
  8. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพ
  9. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เด็กวัยเรียนและเยาวชนเกี่ยวกับเพศศึกษา ในประเด็นเรื่อง “วัยเรียน วัยใส รักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง” เพื่อป้องกันปัญหาการมีบุตรก่อนวัยอันควร 9.1 ครูและนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนบ้านยารอ โรงเรียนบ้านโคกตีเต โรงเรียนบ้านโคกสุมุ และโรงเรียนบ้านแคนา จำนวน 81 คน
    9.2 นักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 – 3 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ จำนวน 99 คน
  10. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 15 – 19 ปี ในเรื่องการวางแผนครอบครัวเพื่อเว้นระยะการมีบุตรอย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นและลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี 10.1 หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15 – 19 ปี หมู่ที่ 1, 2, 3, และ 11 ตำบลบางปอ จำนวน 100 คน
  11. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/รายงานผลการดำเนินโครงการ
  12. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และสื่อการสอนการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก 12.1 จัดทำไวนิลโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก
  13. การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม 13.1 ระหว่างดำเนินงาน 13.2 เมื่อสิ้นสุดโครงการ
  14. การสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สามารถงดเว้นมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ รวมถึงการได้รับการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองอย่างเป็นระบบเมื่อประสบปัญหา
  2. วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาทางเลือก สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ รวมถึงได้รับการบริการที่เป็นมิตร และถูกต้องตามหลักวิชาการในการฝากครรภ์ การคลอด การดูแลหลังคลอด และการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ
  3. ไม่เกิดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงมีอายุ 10 -14 ปี
  4. อัตราการตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ อายุ 15 -1 9 ปี ลดลง
  5. อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ 15 -19 ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ลดลง
  6. อัตราทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดมีน้ำหนักแรกเกิดมากว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2561
  7. แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้ความสามารถในการให้คำแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ุ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด ให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2562 14:03 น.