กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสกัดนักสูบหน้าใหม่
รหัสโครงการ 62-L8407-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม เยาวชนรักษ์เขาน้อย
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายบีลาล เส็นจิตร 2.น.ส.อารียา บากาโชติ 3. น.ส.เฟืองลดา โย๊ะฮาหมาด 4.นส.อรัญญา เต๊ะหลี 5.น.ส.นัสรีน สาดอาหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.767,100.065place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่
6.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่
13.00
3 มาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ(จำนวนมาตรการ)
2.00
4 ร้อยละของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยาสูบเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญลำดับต้นของปัญหาสุขภาพของโลกในปัจจุบันเป็นเหตุให้คนตายทั่วโลกปีละ 6 ล้านคนและทำให้เกิดการตายสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากความดันโลหิตสูงทำให้เกิดภาระโรคเป็นอันดับ 4 รองจากเด็กน้ำหนักต่ำกว่ารับในประเทศไทยทำให้เกิดภาระโรคสูงเป็นอันดับ 2 รองจากปัจจัยเสี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 45,136 คนต่อปี (2004) เป็น 50,710 คนต่อปี ( 2009) จากโรคที่เนื่องมาจากการสูบบุหรี่เช่นและ สามารถลด ละเลิก บุหรี่ต่อไป สถานการณ์การบริโภคยาสูบของประชากรไทยในปี พ.ศ. 2552-2557 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติอัตราสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีแต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี พ.ศ.2554 และกลับลดลงอีกในปี พ.ศ.2556 แล้วมาเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ.2557โดยอัตราการสูบบุหรี่ภาพรวม ในปี พ.ศ. 2550,2552, 2554, 2556, 2557 คือร้อยละ 21.2,20.7, 21.4, 19.9,และ 20.7 จำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ ปีพ.ศ. 2550, 2552, 2554, 2556 และ 2557 คือ 10.8, 10.9, 11.5, 10.8 และ 11.4 ล้านคนผู้สูบบุหรี่มวนเองลดลงจาก 5.3 ล้านคนเหลือไม่ถึง 4 ล้านคนแต่สูบบุหรี่ซองเพิ่มจาก 6.1 เป็น 6.5 ล้านคน)ส่วนอัตราและจำนวนผู้สูบเยาวชน (15-24 ปี)ในปี 2552, 2554, 2556, 2557คือร้อยละ 15.2,16.6,15.07และ 14.7 (1.67, 1.70, 1.44 และ 1.41 ล้านคน)ในปี 2557 อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 18.4 เท่า (ร้อยละ40.5 และ 2.2 ตามลำดับในขณะที่จังหวัดสตูล อัตราการสูบบุหรี่ในประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปในปี พ.ศ. 2550, 2554และ 2557ร้อยละ23.32, 24.01 และ 23.2 ส่วนในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-18 ปีในปี พ.ศ. 2550 และ 2554 ร้อยละ 10.07 และ 9.09 ตามลำดับซึ่งอัตราการสูบบุหรี่ในภาพรวมในเขตสุขภาพที่ 12 และของตำบลย่านซื่อ อัตราการสูบบุหรี่ทั้งในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป และในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-18 ปี ยังสูงกว่าในระดับประเทศ เมื่อพิจารณาสถานที่สาธารณะที่พบเห็นการสูบบุหรี่ในตำบลย่านซื่อ ศาสนสถาน ร้อยละ 72.9 สนามกีฬาหมู่บ้าน ร้อยละ 34.9 ถนนสาธารณะร้อยละ 21.8 นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์ระบบรายงานระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด (บสต.1-5)ของจังหวัดสตูล พบว่า การสูบบุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การเสพย์ยาเสพติดประเภทอื่นๆ       จากสภาพปัญหาดังกล่าวในปี 2559สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลได้ประกาศเป็นนโยบายของจังหวัดในการขับเคลื่อนจังหวัดสตูลปลอดบุหรี่โดยขอความร่วมมือในการขับเคลื่อนจังหวัดปลอดบุหรี่ระหว่างหน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งในระยะแรกกำหนดให้ชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่อำเภอละ 1 ชุมชน ศาสนสถาน (วัด มัสยิด และสถาบันศึกษาปอเนาะ) ต้นแบบปลอดบุหรี่ประเภทละ 1 แห่ง/อำเภอสถานศึกษาต้นแบบปลอดบุหรี่ อำเภอละ 1 แห่ง สถานที่ราชการต้นแบบปลอดบุหรี่ อำเภอละ 1 แห่ง บุคคลต้นแบบตำบลละ 1 คน นอกจากการสร้างสิ่งแวดล้อมสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ตามกฎหมายแล้วยังมีการบริการช่วยเลิกบุหรี่ โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งเปิดบริการคลินิกเลิกบุหรี่ (คลินิกฟ้าใส) เพื่อรองรับผู้ที่ต้องการลด ละ เลิกบุหรี่ รมชมเยาวชนรักษ์เขาน้อยม.3 ต.ย่านซื่อ ได้จัดทำโครงการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนและสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ในที่สาธารณะเพื่อให้สรรพบุรุษมัสยิด ดารุลนาอีม มีความรู้ โทษ พิษภัยของบุหรี่ และ สามารถลด ละเลิก บุหรี่และมัสยิดดารุลนาอีม ปลอดจากควันบุหรี่ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

6.00 2.00
2 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ)

13.00 7.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ

จำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนมาตรการ)

2.00 4.00
4 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ(ร้อยละ)

70.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย เรื่องพิษภัยบุหรี่ในนักสูบหน้าใหม่และพิษภัยของบุหรี่ 40 9,000.00 10,000.00
1 - 30 ก.ย. 62 จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ พื้นที่สาธารณะปลอดควันบุหรี่ 30 1,000.00 1,000.00
รวม 70 10,000.00 2 11,000.00

จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการ ๒. จัดตั้งคณะทำงาน/วางแผนและมอบหมายงาน ๓. ดำเนินการตามโครงการ สำรวจกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบสำรวจก่อนและหลังดำเนินการ 5.จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย 4. ประเมินผล/สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะสามารถดูแลสุขภาพหลีกเลี่ยงป้องกันภัยจากบุหรี่ได้
  2. ผู้เข้าอบรม มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วม รณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่
  3. มีแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสถานที่สาธารณปลอดบุหรี่ในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2562 14:19 น.