กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแล ใส่ใจ ห่วงใย ผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 62-L5192-3-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 23,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทรง สุกแก้วมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดน้อยลงประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์  : Aged Society) จากปัญหาดังกล่าวทำให้แนวโน้มผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ ๙๕ ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า และทุพพลภาพติดเตียง ขณะที่มีเพียงร้อยละ ๕ เท่านั้นที่ไม่เป็นโรค และผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ ๕๖ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่องโดยพบว่าประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจาก ๔ ล้านคน (ร้อยละ(๖.๘ ) ในปี ๒๕๓๗ เป็น๑๐ ล้านคน (ร้อยละ๑๔.๙ ) ในปี๒๕๕๗ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 6,394,022 คนพบว่าเป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 79 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้านติดเตียงจำเป็นต้องสนับสนุนบริการด้านสุขภาพและสังคมร้อยละ 21 ในปี 2559 รัฐบาลได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงโดยมีเป้าหมายสำคัญคือทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงและทำอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม  โดยทีมสหวิชาชีพในระดับปฐมภูมิซึ่งจัดบริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและท้องถิ่นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร มีผู้สูงอายุ จำนวน 632 คน พบว่าเป็นผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 614 ร้อยละ 97.65 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้าน จำนวน 14 คนร้อยละ 2.21 ติดเตียง จำนวน 4 คน ร้อยละ 0.63 ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกขมรมผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 15.82 เพื่อเป็นการรองรับสังคมผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิงจึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วน กลไกที่สำคัญคือการพัฒนาตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือจะต้องมีข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อวางแผนการดูแลช่วยเหลือ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีชมรมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ มีการเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยทีมชมรมผู้สูงอายุไม่ทอดทิ้งกันเพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างถ้วนหน้า เท่าเทียม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาตำบลการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว( Long Term Care ) ขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยเน้นการดำเนินงานแบบครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม
  1. มีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวระดับตำบล เกิดรูปแบบการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม
80.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้มีกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร
  1. ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร มีการดำเนินกิจกรรมสืบสารประเพณีวัฒนธรรมในวันสำคัญคือวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์
70.00
3 3. เพื่อส่งเสริมอาชีพให้ผู้สูงอายุ
  1. ผู้สูงอายุมีการประกอบอาชีพเสริม
70.00
4 4. เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยชมรมผู้สูงอายุไม่ทอดทิ้งกัน
  1. ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยชมรมผู้สูงอายุไม่ทอดทิ้งกันร้อยละ 100
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,200.00 0 0.00
3 มิ.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร 0 0.00 -
10 มิ.ย. 62 - 31 ส.ค. 62 อบรมเพื่อพัฒนาความรู้ในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ 0 22,200.00 -
12 มิ.ย. 62 สำรวจสถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุ 0 0.00 -
25 มิ.ย. 62 ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม 0 0.00 -
1 ก.ค. 62 คืนข้อมูลและจัดทำแผน 0 0.00 -
  1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร เพื่อกำหนดวาระชมรมผู้สูงอายุ ๒. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวชมรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร
  2. สำรวจสถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุในพื้นที่โดยทีมชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ท่าไทร ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  3. คืนข้อมูลและจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุในระดับตำบล
  4. กำหนดรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว โดยยึดตามมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ๓ กลุ่ม คือ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม
    1. ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวระดับตำบล 2.เกิดรูปแบบการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม 3.สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยชมรมผู้สูงอายุไม่ทอดทิ้งกัน 4.ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทรมีการดำเนินกิจกรรมสืบสารประเพณีวัฒนาธรรมในวันสำคัญคือ วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2562 12:00 น.