กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ม.2
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพังเสม็ด ม.2
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 บ้านพังเสม็ด
พี่เลี้ยงโครงการ นางจริญ คำสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.469,100.437place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความดันโลหิตสูงนับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากซึ่งในปี 2559 ซึ่งในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านพังลึก มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนค่อนข้างสูง ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ทำให้เป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแลส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะเบาหวานก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดามารดามีภาวะปกติส่วนใหญ่ในเรื่องปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น การรับประทานอาหารที่แสลงต่อการเกิดโรค การมีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดที่มีผลทำให้ภาวะโลหิตสูงและเบาหวานเช่นกัน การแสดงอาการเนื่องจากความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงจะค่อนข้างสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆปรับตัวเข้ากับภาวะความดันโลหิต น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจเลือด ยกเว้นในรายที่มีอาการสูงมากอาจมีอาการปวดตึงท้ายทอยหรือปวดศรีษะรุนแรง เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้น โอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็มีมาตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตาและสมอง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ จึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานว่าเป็น "ภัยเงียบ" หรือ "ฆ่าตกรเงียบ" นั่นเอง ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพงเสม็ด หมู่ที่ 2 จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้

เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจะทิ้งพระ เพื่อพิจารณาอนุมัติ 2.ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ 3.สำรวจและคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 4.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป 5.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกลุ่มเสี่ยง 6.รณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 วัน/สปดาห์ 7.สรุปและประเมินผลโครงการและรายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 2.ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2562 14:33 น.